สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 38 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6481 คน
21564 คน
2733092 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


นิติบุคคลบ้านเอื้ออาทรกระทำผิดกฎหมาย พรบ มาตรา 38/2 ลำดับเจ้าหน้าทีด้านใดปรับตามมาตรา 71 ครับ
นิติบุคคลบ้านเอื้ออาทร กระทำผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 พศ 2551 ; )
นิติบุคคลผิดมาตรา 38 / 2 ใม่ได้ส่งสำเนา งบดุลบัญชึ แสดงรายรับรายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน ให้เจ้าของร่วม ก่อนวันประชุมใหญ่สามัญ 7 วัน
มีโทษปรับตามมาตรา 71 (ปรับไม่เกิน 10000 บาท )
ผมส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานที่ดิน รับเรื่องไว้แล้ว
ชั้นตอนต่อไป เจ้าพนักงานที่ดิน จะเรียกนิติบุคคลและผู้ที่เกียวข้องมาสอบสวน
ว่า กระทำความผิดตามที่ผมแจ้ง ถ้าจบแล้ว
สำนักงานที่ดินจะส่งเรื่องคดี นิติบุคคลและผู้เกียวข้องผิด มาตรา 38 / 2 นี้
ส่งให้ ศาล พิจารณา สั่งปรับ หรือ ส่งให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เปรียบเทียบปรับ ครับ
หรื่อ มีขั้นตอน อย่างไร และเวลาการดำเนินคดี แต่ละ สำนักงานนานไหม
เหคุการคดีอาญาแบบนี้ นิติบุคคลและผู้ที่เกียวข้องต้องถูกไล่ออกไปจาก ระบบ ตามกฎหมายหรือออกไปเอง โดยปริยาย หรือไม่ครับ
กรรมการ และระบบจัดการไม่ไ้ด้ กระทำการตาม มาตรา 42 / 1
ในการประชุมใหญ่สามัญ เพื่อ เสนอ และให้เจ้าของร่วมพิจารณา
ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติอาคารชุด 3 เรื่องหลักดังนี้
1 ไม่มีการเสนอ จากการจัดการนิติบุคลและพิจารณาจากเจ้าของร่วมเรื่อง
งบดุล บัญชี รายรับ รายจ่าย
2 ไม่มีการเสนอการรายงานผลการทำหน้าที่ของการจัดการนิติบุคคล
ให้ เจ้าของร่วมได้ พิจารณา
3 ไม่มีการเสนอ และแต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบบัญชี
ถือว่า การประชุมใหญ่สามัญนี้ ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างครับ
ผิดกฎหมาย หรือไม่อย่างไรครับ , กรรมการที่จัดการประชุม ต้องมีโทษ
อย่างไร โดยเฉพาะผู้จัดการแทน (มาจากกรรมการแต่งตั้งขึ้นมา )
กรรมการที่เป็นตัวแทนจากผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ มีโทษ อย่างไร
มีแต่การ คัดเลือก ผู้จัดการนิติบุคคล ( มีการหย่อนบัติเลือกตั้ง ก่อนเวลา
การประชุมใหญ่นี้จะเริ่ม หลายใบ)
การระเมิดกฎหมาย มาตรา 38 / 2 , มาตรา 71 มาตรา 42 / 1
บ่งบอกถึงความไม่โปร่ใส อาจมีการ ยักยอกทรัพย์ ในกระบวนการ
จัดจ้าง การจัดซื้อ การปกปิดพฤติกรรมดังกล่าวไม่ให้เจ้าของร่วมได้รู้
มาตรา 60 / 1 ( 1 ) เจ้าหน้าที่ด้านไหน เข้ามาตรวจสอบนิติบุคคลและ
ผู้ที่เกียวข้อง ในการตรวจสอบอาญัติเอกสารบัญชี ทั้งระบบ ครับ
(มาตรานี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่มีอำนาจ ปฎิบัติการ ตรวจสอบ )
มาตรานี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ เข้ามาช่วยตรวจสอบ ระบบนิติบุคคล
ต้องเกิด อะไรขึ้น กับ เจ้าของร่วม หรือ แจ้งเหตุผลได
วันประชุมใหญ๋สามัญ ดังกล่าว มีการพิจารณาผู้จัดการอย่างเดียว
ถือว่าไม่สมบูรณือย่างไร หากไม่มี วาระพิจารณางบดุล ขอปี 2557
แล้วผู้จัดการคนใหม่ จะสามารถ นำเงินส่วนกลางจากเจ้าของร่วม ไปใช้
ได้ ใหม ครับ ,ถ้าเอาไปใช้ มีความผิด อย่างไร ครับ
เำหตุผล การประชุมใหญ่ และ พฤติกรรมการเลือกตั้ง ผจก ดังกล่าว
ผม ส่งฟ้องศาล พอจะได้การอย่างไร ครับ หรือ จบที่พนักงานเจ้าหน้าที่
กรมที่ดิน กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือศาล
ผมไป ดูแผนผัง สำดับการส่งสำนวน ระหว่างกระทรวง ไดได้บ้าง
ในเรื่อง ขันตอนการพิจารณา พรบ อาคารชุด

ขอบคุณครับ
โดย BMW IP: xxx [ 2013-12-28 ]

คำตอบจาก Webmaster

เจ้าหน้าที่ที่ดินจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีโดยการส่งให้อัยการฟ้องต่อศาล เนื่องจากโทษปรับเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาจะต้องให้ศาลสั่งปรับ ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม


กรณีดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าจะต้องออกจากการเป็นผู้จัดการโดยปริยาย แต่กรณีดังกล่าว เจ้าของร่วมจะต้องลงมติถอดถอนจาาการเป็นผู้จัดการตามมาตรา 49


การประชุมใหญ่สามัญประจำปี หากส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมถูกต้อง มีเจ้าของร่วมเข้าร่วมประชุมครบเป็นองค์ประชุมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ก็ถือว่าการประชุมใหญ่นั้นถูกต้อง แต่ที่ผิดคือไม่มีวาระที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการไม่มีวาระการประชุมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บัญญัติลงโทษไว้แต่อย่างใด คณะกรรมการจึงไม่มีความผิด


พนักงานเจ้่าหน้าที่ในที่นี้หมายถึง ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งตามบทนิยามในมาตรา 4


วันประชุมใหญ่สามัญตามกฎหมายมาตรา 42/1 กำหนดให้คณะกรรมการเป็นผู้จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ แต่กรณีอาจเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการฯ มีมติอนุมัติให้จัดประชุมแล้ว และผู้จัดการเป็นผู้ออกหนังสือเชิญประชุม


ผู้จัดการคนใหม่มีสิทธิที่จะเงินส่วนกลางไปใช้ในการดูแลและบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางได้ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนกรณีที่ไม่มีการอนุมัติงบดุล เป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งชอบที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะลงมติถอดถอนให้ออกจากการเป็นผู้จัดการได้


การฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม กฎหมายอาคารชุดไม่ได้บัญญัติไว้


ลำดับการส่งสำนวน แผนภูมิการพิจารณาคดีอาญาสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือกฎหมายทั่วไป

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-12-31 ] ตอบ 1043
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.