สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 7 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6450 คน
21533 คน
2733061 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การขึ้นที่ดินว่างเปล่าเป็นโฉนด
รบกวนหน่อยนะคะ ปัญหามีอยู่ว่า 15ปีก่อน นางก.ขายที่ดินให้กับนายข. โดยไม่มีเอกสารใดๆ นายข.เลยแบ่งขายที่ดินเพียงครึ่งนึงให้กับนายง.ปัจจุบันที่ดินของนายง.เป็นโฉนดเรียบร้อยแล้ว นายข.และนางก.เสียชีวิต นายข.จึงมอบที่ดินให้กับลูกชาย ลูกชายของนายข.จะนำที่ดินไปขึ้นเป็นโฉนดได้รึเปล่าค่ะ ถ้าได้ต้องทำตามขั้นตอนอะไรบ้างค่ะ
โดย นฤภร (ip223.207.38.168) อี-เมล์ นฤภร (ip223.207.38.168) เบอร์โทรศัพท์. นฤภร IP: xxx [ 2014-03-16 ]

คำตอบจาก Webmaster
เข้าใจว่าที่ดินที่ซื้อขาย น่าจะเป็นที่ดินประเภท น.ส. 3 หรือน.ส. 3 ก. ซึ่งที่ดินประเภทนี้สามารถซื้อขายกันได้ 2 แบบ คือ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่จดทะเบียนต่อพนักานเจ้าหน้าที่ แต่ส่งมอบที่ดินให้ครอบครอง กรณีดังกล่าวเข้าใจว่า นาง ก. น่าจะส่งมอบที่ดินแปลงดังกล่าวฝห้นาย ข. ไปครอบครอง ซึ่งตามหลัก นาย ข. จะต้องไปจดทะเบียนโอนสิทธิครองครอง ให้ชื่อด้านหลังน.ส. 3 หรือ น.ส. 3 ก. เป็นชื่อของนาย ข. ก่อน แต่เมื่อนาย ข. ไม่ดำเนินการและเสียวชีวิต ที่ดินแปลงดังกล่าว จึงเป็นมรดกตกทอดสู่ทายาท ดังนั้น ลูกของนาย ข. ควรจะไปทำเรื่องรับมรดกที่ดินของนาย ข. ก่อน เพื่อให้บุตรของนาย ข. มีชื่ออยู่ที่ด้านหลัง น.ส. 3 หรือน.ส. 3 ก. หลังจากนั้น จึงยื่นคำขอรังวัดเปลี่ยน น.ส. 3 หรือน.ส. 3 ก. เป็นโฉนดที่ดิน เนื่องจากที่ดินของนาย ง. ออกเป็นโฉนดเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าใจว่า น่าจะมีการสร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินแล้ว
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-03-18 ] ตอบ 1083
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.