สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 35 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3826 คน
25542 คน
2737070 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การว่าจ้างทนายมาฟ้องเรียกเก็บค่าส่วนกลางตามมาตรา 18
อยากทราบว่านิติบุคคลอาคารชุดดำเนินการว่าจ้างทนายมาฟ้องเจ้าของร่วมที่ค้างค่าส่วนกลางตามมาตรา 18 นั้น โดยกรรมมการตกลงว่าจ้างโดยให้ค่าตอบแทนกับทนายความเป็น% ตามยอดที่ฟ้องเรียกเก็บได้นั้น โดยการว่าจ้างนั้นเป็นการดำเนินการกันเองของคณะกรรมการอาคารชุด และหากไม่ได้รับมติของเจ้าของร่วมในการประชุมครั้งที่ 2 หากได้มติเห็นชอบไม่ถึง 1 ใน 3 ของเจ้าของห้องร่วมนั้น การกระทำดังกล่าวของคณะกรรมการนิติบุคคลมีความผิดฐานใด เจ้าของห้องร่วมคนใดคนนึงต้องดำเนินการอย่างไรได้บ้าง จะฟ้องศาลขอเรียกเงินคืนจากทนายความฐานลาภมิควรได้ได้หรือไม่ และการประชุมครั้งนี้มีผลเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้นใช่หรือไม่
โดย loogked (ip171.6.219.166) อี-เมล์ loogked (ip171.6.219.166) เบอร์โทรศัพท์. loogked IP: xxx [ 2014-05-26 ]

คำตอบจาก Webmaster
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 36 กำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่
ฯลฯ
(6) ฟ้องบังคับชำระหนี้จากเจ้าของร่วมที่ค้างชำระค่าใช้จ่่ายตามมาตรา 18 เกินหกเดือนขึ้นไป
มาตรา 38 กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่
(1) ควบคุมการจัดการอาคารชุด

ดังนั้น การที่คณะกรรมการฯ ได้อนุมัติให้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับเจ้าของร่วมที่ค้า่งชำระ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายมาตรา 38 (1) แล้ว จึงไม่มีความผิด การที่ทนายคิดค่าจ้างกับคณะกรรมการฯ เป็นไปตามข้อตกลง การจ่ายเงินค่าจ้างจึงเป็นการจ่ายตามมูลหนี้การว่าจ้าง จึงไม่ใช่ลาภมิควรได้ที่จะฟ้องเรียกเงินค่าจ้างคืนได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-05-30 ] ตอบ 1112
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.