สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6445 คน
21528 คน
2733056 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


กองทุนปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลางเงินเพิ่ม ม.40(2)

นิติเรียกเก็บเงินกองทุนปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลางเงินเพิ่ม ม.40(2) จากเจ้าขอร่วมทุกห้องเป็นจำนวนเงิน 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นเงินที่จะนำไปทำโครงการระบบประปาภายในอาคาร และเป็นมติในที่ประชุมใหญ่ จึงอยากสอบถามว่า ถ้าหากเจ้าของร่วมบางห้องไม่ชำระเงินดังกล่าว จะถือว่าเงินตามมาตรานี้ เป็นเงินตามมาตรา 18 ด้วยได้หรือไม่ และสามารถให้มาตรการในการกำหนดโทษร่วมกับมาตรา 18 ได้หรือไม่ เช่น ตัดน้ำ หรือระงับการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง เป็นต้น เพราะถ้าหากเจ้าของร่วมไม่ชำระหลาย ๆ ห้อง โครงการดังกล่าวก็จะไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดได้

โดย คนแม่เย็น IP: xxx [ 2014-09-14 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีดังกล่าวมีอาจารย์ผู้แต่งคำอธิบายกฎหมายอาคารชุดท่านหนึ่ง ได้ให้ข้อสังเกตว่า เงินทุนเมื่อเริ่มกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 40 (2) น่าจะถือว่าเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการบริการส่วนรวมเพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 18 วรรคสอง หากเจ้าของห้องชุดค้างชำระเงินที่กล่าวมาแล้ว ก็น่าจะมีผลตามมาตรา 18/1 คือ ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี หรือ 20 ต่อปีแล้วแต่กรณี และนิติบุคคลอาคารชุดเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิ์เหนือทรัพย์ของเจ้าของห้องชุดที่ค้างชำระเงินดังกล่าวตามมาตรา 41 และน่าจะมีผลไปถึงมาตรา 29 กล่าวคือ เจ้าของห้องชุดจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดไม่ได้ เว้นแต่จะได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดได้ออกหนังสือรับรองว่าปลอดหนี้ตามมาตรา 29 วรรคสาม ดังนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงสามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิฺห้องชุดของเจ้าของห้องชุดรายนั้นได้

อย่างไรก็ดี เป็นแต่เพียงข้อสังเกตเท่านั้น แต่ผมกลับเห็นต่างเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า เงินตามมาตรา 40 ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 เมื่อกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ชัดเจน ก็จะถือว่าเงินตามมาตรา 40 เป็นเงินค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไม่ได้ จะนำบทบัญญัติและ/หรือข้อบังคับฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรจะระบุให้ชัดเจนในมติที่ประชุมว่า หากไม่ชำระจะมีผลเป็นประการใด นิติบุคคลอาคารชุดจะดำเนินการเร่งรัดเงินดังกล่าวอย่างไรได้บ้าง เพราะเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติแล้ว และมตินั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย ย่อมผูกพันเจ้าของร่วมทุกคน และในการฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าว จะต้องตั้งสิทธิฟ้องโดยอาศัยมติที่ประชุมใหญ่ จะตั้งสิทธิฟ้องตามมาตรา 18 ไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ว่าเงินตามมาตรา 40 ให้ถือเป็นเงินค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 นั่นเอง
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-09-16 ] ตอบ 1149
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.