สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 58 คน
 สถิติเมื่อวาน 75 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4677 คน
26393 คน
2737921 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ที่นิติฯเป็นเจ้าของร่วมด้วย (หน้า 1)
ตามมาตรา 18 ให้ผู้มีสิทธิ์ในที่ดินและอาคารชุดตามมาตรา 6 เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งและต้องร่วมออกค่าใช้จ่าย ตามวรรค1(ค่าภาษีอากร)
และวรรค2(ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวม&ที่เกิดจากเครื่องมือเครือ่งใช้ ตลอดสิ่งอำนวยสะดวกและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกฃลางตามมาตรา 14 หรือ ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ) อยากทราบว่า
1 ถ้าผู้มีสิทธิ์ในที่ดินและอาคารชุดตามมาตรา 6 ปัจจุบันก็เป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด และยังเป็น กรรมการในหนังสือรับรอองของบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติฯอาคารชุด ก็ต้องจ่ายค่าส่วนกลางตามมาตรา 18 ใช่หรือไม่
2. ถ้าข้อบังคับนิติเดิมมีการระบุว่าเจ้าของร่วมลงมติยินยอมยกเว้นค่าส่วนกลางให้เจ้าของโครงการที่เป็นนิติฯอาคารชุดด้วย ที่ต้องใช้ชื่อบริษัทเป็นเจ้าร่วมของห้องที่ยังไม่ได้ขาย ถือว่าข้อบังคับนี้ไม่มีผลตามกฏหมาย ใช่หรือไม่ เพราะขัดต่อต่อ มาตรา3/พรบ2522(บรรดาข้อบังคับ ซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพรบ.นี้ให้ใช้พรบนี้แทน)
3. กรณีอาคารชุดมีทั้งหมด 48ห้อง โดย 45 ห้องพื้นที่เท่ากัน ขนาด@ 50 ตร.ม. และอีก 3 ห้องขนาด@100 ตรม. ตามมาตรา 14(อัตราส่วนในกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างเนื้อที่ของห้องชุดแต่ละห้องกับเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น และตามมาตรา 18 เจ้าของร่วมต้องจ่ายค่าส่วนกลางตามอัตราส่วนตามมาตรา 14) กรณีบริษัทผู้ประกอบการหรือผู้มีสิทธิ์ในที่ดินและอาคารชุดตามมาตรา 6 และเป็นนิติฯอาคารชุดด้วย ยังไม่ได้ขายห้อง 50 ตรม. 4 ห้อง ยังไม่ขายห้อง 100 ตรม.2 ห้อง ถ้าเจ้าของร่วมหนึ่งห้องขนาด 50 ตรม.ต้องจ่าย 1000 บาท แสดงว่า ผู้ประกอบการที่เป็นนิติฯและใช้ชื่อเป็นเจ้าจองร่วม ห้องว่างเหล่านี้ ต้องจ่าย (4ห้องเล็กx1000)+(2ห้องใหญ่x2000)=8000 บาท ใช่หรือไม่
4. ค่าประกันอัคคีภัยอาคารชุด ค่าประกันภัยอื่นของอาคารชุดทุกประเภทที่นิติฯอาคารชุดต้องการทำ ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรค 2 ด้วยหรือไม่
5. ผู้ประกอบการที่เป็นนิติฯอาคารชุดด้วยก็ต้องร่วมกันจ่ายค่าประกันอัคคีภัยและค่าประกันอื่นของอาคารชุดเช่นกันใช่หรือไม่ โดยผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าประกันภัยต่างๆเฉพาะห้องชุดที่ยังไม่ได้ขาย โดยไม่สามารถเอาเงินจากค่าส่วนกลางที่เจ้าของร่วมอื่นๆร่วมกันออกใช่หรือไม่ บริษัทผู้ประกอบการต้องออกค่าประกันภัยเองเช่นเดียวกับเจ้าของร่วมอื่นๆ
6. ที่แล้วมานิติฯแยกค่าประกันอัคคีภัยออกจากค่าส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องจ่ายต่างหาก นอกจากค่าส่วนกลาง จิงๆแล้วต้องรวมเป็นก้อนเดียวกันอยู่ในค่าส่วนกลางหรือไม่
7 กรณีห้องว่างที่ยังไม่ขาย อยู่ริมสุดของอาคารชุด มีลูกกอล์ฟปาเข้ามาหรือนกชนกระจกแตก อยากทราบว่า
7.1 ถ้าเข้ามาชนกระจกหน้าต่างที่ไม่มีระเบียงเดินออกมาได้ (กระจกกำแพงห้องริมสุด ซึ่ง พรบ.กำหนดว่า ผนังที่อยู่ริมอาคารและผนังห้องชุดที่ล่วงล้ำไปในอากาศซึ่งเป็นผนังอยู่ริมอาคารเช่นเดียวกัน เป็นโครงสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด เป็นทรัพย์ส่วนกลาง ไม่ให้คำนวนเป็นเนื้อที่ของห้องชุด) ไม่ทราบว่ากรณีกระจกแตกด้านกำแพงนี้ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนบุคคล
7.2 ถ้าเข้ามาชนกระจกประตูแตกของด้านที่ออกไปพื้นที่ระเบียง กระจกประตูที่แตกนี้ ถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล หรือทรัพย์ส่วนกลาง
7.3 ถ้าเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล เจ้าของร่วมต้องออกค่าใช้เองในการซ่อมแซมใช่หรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง สามารถใช้ค่าส่วนกลางออกใช่หรือไม่
7.4 ห้องชุดดิฉัน อยู่ช่วงกลางของอาคารชุดไม่ได้อยู่ริมอาคาร อยากทราบว่า 7.4.1 ผนังตรงที่อยู่ในเขตระเบียง ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือส่วนบุคคล 7.4.2 ผนังที่อยู่นอกระเบียงหรือช่วงที่เป็นกำแพงไม่มีระเบียงถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันเกิดการผู สีร่อน ต้องซ่อมแซมจะได้ทราบว่าส่วนไหนต้องจ่ายเอง ส่วนไหนให้นิติฯซ่อมให้ค่ะ 7.4.3 ราวไม้ของระเบียง ถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลไช่หรือไม่

เนื่องด้วยดิฉันจะมีประชุมเจ้าของร่วมในวันพฤหัสช่วงบ่าย จึงขอรบกวนช่วยตอบภายในพุธนี้ เพื่อจะได้เตรียมแย้งภายในที่ประชุมได้ค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูง
โดย Primy (ip27.55.19.86) อี-เมล์ Primy (ip27.55.19.86) เบอร์โทรศัพท์. Primy IP: xxx [ 2014-10-06 ]

คำตอบจาก Webmaster
7.4.1 และ 7.4.2 ผนังตรงที่อยู่ในเขตระเบียง ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือส่วนบุคคล ตอบ ผนังที่อยู่ริมอาคาร และผนังของห้องชุดที่ล่วงล้ำไปในอากาศซึ่งเป็นผนังอยู่ริมอาคารเช่นเดียวกัน เป็นโครงสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด เป็นทรัพย์ส่วนกลาง (ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยอาคารชุด พ.ศ. 2554) เมื่อเป็นทรัพย์ส่วนกลางเป็นหน้าที่ของนิติฯ ที่จะต้องซ่อมแซม 7.4.3 ราวไม้ของระเบียง จะถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนบุคคล จะต้องพิจารณาว่าระเบียงนั้นเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนบุคคลเป็นหลัก หากระเบียงเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล ราวไม้ของระเบียงก็เป็นทรัพย์ส่วนบุคคล เเพราะราวไม้ของระเบียงเป็นส่วนควบของระเบียงซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-13 ] ตอบ 1154
1. เจ้าของโครงการเป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ต้องออกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (มาตรา 18 วรรคสาม)
2. มติดังกล่าวขัดต่อกฎหมายตามข้อ 1. จึงไม่มีผลใช้บังคัย
3. ใช่
4. ค่าประกันภัยอาคารชุดถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
5. ใช่
6. ค่าเบี้ยประกันเป็นเงินที่เจ้าของร่วมต้องจ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายไม่สามารถรวมเป็นจำนวนเดียวกันกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสองได้
7. ข้อกฎหมายตามที่ถาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรังวัดเนื้อที่ห้องชุด ส่วนกระจกในห้องชุดแตก เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ใช้ เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของห้องชุด
7.2 ประตูกระจกที่แตกเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล
7.3 เมื่อเป็นทนัพย์ส่วนบุคคล เจ้าของห้องชุดต้องชำระเอง
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-12 ] ตอบ 1153
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.