สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 45 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6488 คน
21571 คน
2733099 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การลงคะแนนเสียงในที่ประชุม
มาตรา45วรรค1 ในการลงคะแนนเสียง ให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ถ้าอาคารชุดนั้นมีทั้งหมด 45 ห้อง โดย 42 ห้องมีขนาด 50 ตรม. อีก 3 ห้องขนาด 100 ตรม. อยากทราบว่า
1. ห้องปกติขนาด 50 ตรม. 1 ห้อง จะมีสิทธิ์ 1 เสียง ใช่หรือไม่
2. ห้องใหญ่ขนาด 100 ตรม. 1 ห้อง จะมีสิทธิ์ 2 เสียง ใช่หรือไม่ (เนื่องจากมีพื้นที่เป็น 2 เท่าจากขนาดห้องปกติ อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางก็จะเป็น 2 เท่าของห้องปกติเช่นกัน)
3. ดังนั้นห้องปกติ 42 ห้องมีคะแนนเสียง 42 เสียง + ห้องใหญ่ 3 ห้อง มีคะแนนเสียง 3ห้องx2เท่าของห้องปกติ= 6 เสียง ดังนั้น จำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดของเจ้าของร่วม = 48 เสียงใช่หรือไม่
4. ถ้า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน&อาคารชุด ตามมาตรา 6 &ชื่อบริษัทเป็นชื่อเดียวกับบริษัทนิติบุคคลอาคารชุด ใช้ชื่อเป็นเจ้าของร่วม ห้องปกติ 10ห้อง ห้องใหญ่ 2 ห้อง แสดงว่า ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนิติอาคารชุดด้วย มีเสียงทั้งหมด (10ห้องปกติมี 10เสียง)+(2ห้องใหญ่ มี 4 เสียง)=14 เสียง ใช่หรือไม่
5. ตามมาตรา 37/1 (3) ตัวแทนของนิติบุคคลอาคารชุด จำนวนหนึ่งคนมีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดเป็นเจ้าของร่วมหลายห้องตามข้อ 4 ก็ยังคงเป็นคณะกรรมการได้เพียง 1 คน ใช่หรือไม่
6. ตามมาตรา 45วรรค2 ถ้าเจ้าของร่วมคนเดียว มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด ให้ลดจำนวนคะแนนเสียงของผู้นั้นลงมาเหลือเท่ากับคะแนนเสียงของบรรดาเจ้าของร่วมอื่นๆรวมกัน
6.1กรณีนี้ หมายถึง เจ้าของร่วมใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือชื่อบริษัทก็ได้ โดยใช้ชื่อเดียวกันเป็นชื่อเจ้าของร่วมหลายห้อง ใช่หรือไม่
6.2 ยกตุัวอย่าง กรณีมี 20 ห้องพื้นที่เท่ากันหมด เจ้าของร่วมใช้ชื่อเดียวกันชื่อ a เป็นเจ้าของร่วม 11 ห้อง เป็นของคนอื่นรวมกัน 9 ห้อง ตามกฏหมาย a จะถูกตัดสิทธิ์ให้เหลือคะแนนเสียงเพียง 9 เสียง ใช่หรือไม่
7. ถ้า การประชุมใหญ่ประจำปีครั้งแรก ในหัวข้อขึ้นค่าส่วนกลาง คะแนนเสียงลงมติไม่ถึงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด เจ้าของร่วมจึงขอยกเลิกไม่ถือว่ามีการประชุมเกิดขึ้น(ไม่มีการลงมติในเรื่องใดทั้งสิ้น เนื่องจากเอกสารประกอบพิจารณาไม่ครบถ้วน แจ้งให้หารายละเอียดเพิ่มเติม) เลื่อนไปประชุมและลงมติเป็นครั้งต่อไปแทน อยากทราบว่า
7.1 ตามฏกหมาย ถือว่าการประชุมนี้ไม่เคยเกิดขึ้นได้หรือไม่ ถือว่าครี้งต่อไปเป็นประชุมครั้งแรกไม่ใช่ประชุมครั้งที่สองได้หรือไม่
7.2 ถ้าการประชุมครั้งแรกถือเป็นการประชุมครั้งแรกตามเดิม และการประชุมครั้งที่2 มีชึ้นภายใน 15 วันนับจากครั้งแรก ครั้งที่สองนี้ ไม่บังคับว่าจะต้อง มีเสียงลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมใช่หรือไม่ คือเท่าไหร่ก็ได้ใช่หรือไม่
7.3 การประชุมครั้งที่ 2 นี้ เรื่องการชึ้นค่าส่วนกลาง ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด หรือ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1ใน3 ของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด
7.4 ถ้ากรณี การประชุมครั้งที่ 2 จัดถัดไปอีก 28 วัน นับจากการประชุมครั้งแรกจะถือว่าเป็นประชุมครั้งที่ 2 หรือไม่ หรือจะถือว่าการประชุมครั้งแรกเป็นโมฆะ เนื่องจากจัดประชุมครั้งที่ 2เลยกำหนด 15 วันมาแล้ว จึงนับครั้งต่อไปเป็นการประชุมครั้งแรกแทน โดย จะต้องมีคะแนนเสียง 1 ใน 4 จึงจะเป็นองค์ประชุม และต้องมีเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งในการลงมติเรื่องขึ้นค่าส่วนกลางใช่หรือไม่
(ดิฉันจะเข้าประชุมอีกครั้งในวันที่ 1 พ.ย.ค่ะ รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ)
โดย Primy (ip27.55.28.202) อี-เมล์ Primy (ip27.55.28.202) เบอร์โทรศัพท์. Primy IP: xxx [ 2014-10-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
ขออนุญาตข้ามไปตอบกระทู้อื่นก่อนนะครับ เพราะสมาชิกท่านอื่นรอคำตอบอยู่เหมือนกัน และสำหรับของท่านก็ได้ตอบไป 2 คำถามแล้ว
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-17 ] ตอบ 1161
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.