สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 63 คน
 สถิติเมื่อวาน 87 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4188 คน
25904 คน
2737432 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ลืมตอบข้อ 1139 จึงยกมาแปะใหม่&แก้คำถามใหม่ค่ะ
มาตรา45วรรค1 ในการลงคะแนนเสียง ให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ถ้าอาคารชุดนั้นมีทั้งหมด 45 ห้อง โดย 42 ห้องมีขนาด 50 ตรม. อีก 3 ห้องขนาด 100 ตรม. อยากทราบว่า
1. ห้องปกติขนาด 50 ตรม. 1 ห้อง จะมีสิทธิ์ 1 เสียง ใช่หรือไม่
2. ห้องใหญ่ขนาด 100 ตรม. 1 ห้อง จะมีสิทธิ์ 2 เสียง ใช่หรือไม่ (เนื่องจากมีพื้นที่เป็น 2 เท่าจากขนาดห้องปกติ อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางก็จะเป็น 2 เท่าของห้องปกติเช่นกัน)
3. ดังนั้นห้องปกติ 42 ห้องมีคะแนนเสียง 42 เสียง + ห้องใหญ่ 3 ห้อง มีคะแนนเสียง 3ห้องx2เท่าของห้องปกติ= 6 เสียง ดังนั้น จำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดของเจ้าของร่วม = 48 เสียงใช่หรือไม่
4. ถ้า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน&อาคารชุด ตามมาตรา 6 &ชื่อบริษัทเป็นชื่อเดียวกับบริษัทนิติบุคคลอาคารชุด ใช้ชื่อเป็นเจ้าของร่วม ห้องปกติ 10ห้อง ห้องใหญ่ 2 ห้อง แสดงว่า ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนิติอาคารชุดด้วย มีเสียงทั้งหมด (10ห้องปกติมี 10เสียง)+(2ห้องใหญ่ มี 4 เสียง)=14 เสียง ใช่หรือไม่
5. ตามมาตรา 37/1 (3) ตัวแทนของนิติบุคคลอาคารชุด จำนวนหนึ่งคนมีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดเป็นเจ้าของร่วมหลายห้องตามข้อ 4 ก็ยังคงเป็นคณะกรรมการได้เพียง 1 คน ใช่หรือไม่
6. ตามมาตรา 47 ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดมิได้ อยากทราบว่า
6.1 กรณีเจ้าของร่วม 3 ห้องชุด(คนละชื่อเจ้าของร่วม) สามารถมอบฉันทะให้บุคคลใดก็ได้(ที่ไม่ใช่เจ้าของร่วม)เพียงคนเดียว(1 คน) เพื่อให้ออกเสียงแทนในที่ประชุมใหญ่ได้ 3 เสียงแทนเจ้าของร่วม 3 ห้องได้ ใช่หรือไม่
6.2 กรณีเจ้าของร่วม 3 ห้องมอบฉันทะให้เจ้าของร่วมห้องอื่นห้องเดียวออกเสียงแทน เจ้าของร่วมที่ได้รับมอบฉันทะห้องนั้นสามารถใช้สิทธิ์ออกเสียงให้ห้องตนเอง 1 เสียงและใช้สิทธิ์ออกเสียงแทนห้องที่รับมอบฉันทะ3ห้อง ได้อีก 3 เสียง รวมเป็น 4 เสียงในที่ประชุมใหญ่ ใช่หรือไม่
7. ตามมาตรา 47 บุคคลต่อไปนี้จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมมิได้ (1) กรรมการและคู่สมรส อยากทราบว่า
7.1 กรณีเจ้าของร่วม1ห้อง &ได้รับมอบฉันทะจากเจ้าของร่วมอื่น 2 ห้อง รวมเป็น 3 ห้อง 3 เสียง สามารถใช้ 3 เสียงนี้ ร่วมVote เลือกตนเองเป็นคณะกรรมการคนหนึ่งได้หรือไม่ หรือเสียงจะถูกตัดลงเหลือ 1 เสียงที่เป็นห้องตนเองเท่านั้น (ขณะเริ่มVote ยังเป็นเพียงเจ้าของร่วม ยังไม่ได้เป็นคณะกรรมการที่จดทะเบียนที่กรมที่ดิน)
7.2 กรณีเลือกคณะกรรมการ 3 คน เจ้าของร่วมที่ได้รับมอบฉันทะตามข้อ 7.1 ถูกVote หรือเลือกเป็นกรรมการคิวสุดท้าย แสดงว่าเจ้าของร่วมคนนี้ยังใช้สิทธ์ออกเสียง 3 เสียงในการ Vote เลือกคณะกรรมการ 2 คนแรกก่อนได้ ใช่หรือไม่
7.3 เจ้าของร่วมที่เป็นกรรมการ (ที่จดทะเบียนที่กรมที่ดินแล้ว) กรณี เข้าร่วมประชุมใหญ่ไม่ได้ สามารถมอบฉันทะให้ใครก็ได้หรือมอบฉันทะให้เจ้าของร่วมห้องอื่น ออกเสียงแทนได้ ใช่หรือไม่ (เห็นห้ามรับมอบฉันทะ แต่ไม่เห็น ห้ามมอบฉันทะ)
7.4 เจ้าของร่วมที่เป็นกรรมการ(จดทะเบียนแล้ว) สามารถออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ห้องปกติ 1 เสียง หรือ ห้องใหญ่ 2 เสียงใช่หรือไม่
8. การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 37/6 ความว่า การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
8.1 สมมุติกรรมการมี 4 คน ประธานมี1เสียง รองประประธานมี 1เสียง กรรมการอีก 2คน คนละ 1 เสียง ลงมติได้ 2 ต่อ 2 ก็ให้ ประ ธานมีเสียงเพิ่มอีก 1 เสียง ลงมติได้เป็น 3:2 รวม 5 เสียงใช่หรือไม่
8.2 กรณีกรรมการคนใด ไม่สามารถร่วมประชุมคณะกรรมการได้ สามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่น(ยกเว้นกรรมการด้วยกัน)ให้เข้าร่วมประชุมออกเสียงแทน ได้หรือไม่ (กรรมการ 1 คน ยังคงมี 1เสียง)
8.3 กรณีกรรมการเป็นเจ้าของร่วมห้องใหญ่ ซึ่งถ้าในที่ประชุมใหญ่จะได้ 2 เสียง แต่ถ้าในที่ประชุมคณะกรรมการต้องตัดลงเหลือ 1เสียง ใช่หรือไม่
(รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ เนื่องจากมีประชุมอีกครั้งตอนบ่าย 4 พ.ย.)
โดย Primy (ip27.55.10.106) อี-เมล์ Primy (ip27.55.10.106) เบอร์โทรศัพท์. Primy IP: xxx [ 2014-10-23 ]

คำตอบจาก Webmaster
6.1-6.2 มาตรา 47 "เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดไม่ได้" ดังนั้น เจ้าของร่วมจะมอบให้เจ้าของร่วมคนอื่นเข้าร่วมประชุมแทนตนก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม แต่เจ้าของร่วมที่รับมอบฉันทะคนนั้น จะรับมอบฉันทะจากเจ้าของร่วมคนอื่นเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 3 ห้องชุด และเจ้าของร่วมคนที่รับมอบฉันทะ ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในส่วนของห้องชุดของตนเองได้
7.1 ได้เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
7.2 ใช่
7.3 มอบฉันทะในฐานะเจ้าของร่วมให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมแทนได้ แต่จะมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมในฐ่านะเป็นกรรมการไม่ได้
7.4 เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีคะแนนเสียงตามอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นกรรมการหรือไม่เป็นกรรมการก็ตาม
8.1 ใช่
8.2 ไม่ได้เพราะการเป็นกรรมการเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่สามารถมอบอำนาจให้ใครเข้าร่วมประชุมแทนได้
8.3 กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน (มาตรา 37/6 วรรคท้าย) หมายความว่า การลงคะแนนเสียงในการประชุมคณะกรรมการ ไม่ว่ากรรมการท่านนั้่นจะมีห้องชุดมากมายเท่าใด มีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางมากเพียงใด ก็ลงคะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการได้เพียง 1 เสียงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-26 ] ตอบ 1169
ขอโทษครับ ลืมจริง ๆ
1-4 ในการลงคะแนนเสียง ให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง สมมติว่า ห้องเล็กมี 50 ตารางเมตรจากอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมด 10,000 ส่วน เมื่อลงคะแนน เจ้าของห้องเล็กก็มีสิทธิที่จะลงคะแนนได้ 50 ส่วนตามอัตราส่วนที่คนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ห้องใหญ่ขนาด 100 ตารางเมตรก็เช่นเดียวกัน ก็จะมีเสียงลงคะแนน 100 ส่วน
5. กรณีดังกล่าวหมายถึง ห้องชุดเลขที่ 111/111 มีบริษัท ก. จำกัดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ซึ่งบริษัท ก. จำกัดอาจจะมีกรรมการหลายคน แต่กฎหมายบังคับให้บริษัท ก. จำกัดส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการเพียง 1 คนเท่านั้น ในกรณีที่บริษัท ก. จำกัดถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหลายห้อง บริษัท ก. จำกัดก็มีสิทธิที่จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการห้องละ 1 คน

ข้อที่เหลือจะมาตอบต่อนะครับ เพราะตอนนี้ภาระกิจประจำค่อนข้างมาก ขอโทษจริง ๆ ที่ลืมตอบ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-24 ] ตอบ 1168
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.