สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 6 คน
 สถิติเมื่อวาน 75 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4625 คน
26341 คน
2737869 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การโอนเปลี่ยนแปลงผู้กรรมสิทธิ์โดยไม่ได้ระบสัดส่วนของผู้ถือ
1.มีผุ้ถือกรรมสิทธิ์รวมสามคน โดยไม่ได้ระบุสัดส่วนของผุ้ถือ ว่าแต่ละคนได้กี่ส่วน แล้วภายหลังหนึ่งคนในผู้ถือกรรมสิทธิ์เสียชีวิตแต่มีการทำพินัยกรรมไว้ว่าให้ใคร จะสามารถให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม รับโอนมรดกเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรมในโฉนดได้เลยมั่ยคะ ต้องให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคน มาติดต่อทำกาโอนด้วย หรือไม่จำเป็น
2.ผุ้ถือกรรมสิทธิ์รวมสามคน โดยไม่ได้ระบุสัดส่วนของผุ้ถือ ว่าแต่ละคนได้กี่ส่วน แล้วภายหลังหนึ่งคนในผู้ถือกรรมสิทธิ์จะโอนขายสิทธิ์ให้พี่น้องทางสายเลือด สามารถทำกาโอนได้เลย หรือต้องทำการแบ่งสัดส่วนชัดเจนก่อน หรือโอนได้เลย แต่แต่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคนต้องมารับรุ้พร้อมกันระหว่างโอนคะ
โดย หนิง IP: xxx [ 2015-04-21 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. เมื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนสามคน โดยไม่ได้ระบุสัดส่วนว่าแต่ละคนได้กี่ส่วน ตามกฎหมายถือว่า แต่ละคนถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินคนละเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งเสียชีวิต ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิที่จะไปจดทะเบียนรับมรดกเฉพาะส่วนของผู้เสียชีวิตได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มาทำการโอนด้วย เพราะรับมรดกตามพินัยกรรมเฉพาะส่วนของผู้เสียชีวิตเท่านั้น

2. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่บุคคลได้ทันที โดยไม่จำต้องให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่นมารับรู้ด้วยเพราะเป็นการขายเฉพาะส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายนั้น และไม่จำเป็นต้องทำการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนก่อน แต่จะเป็นการสร้างปัญหาให้ผู้ซื้อส่วนดังกล่าว เพราะจะต้องไปเจรจาทำความตกลงกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รายอื่นอีก 2 หลายว่า แต่ละคนจะครอบครองที่ดินเป็นสัดส่วนของแต่ละคนในบริเวณใดของที่ดินแปลงนั้น
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-04-21 ] ตอบ 1221
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.