สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 35 คน
 สถิติเมื่อวาน 75 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4654 คน
26370 คน
2737898 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ครอบครองที่ดินโดยสงบมา 50 ปียังไม่ยื่นร้องขอ แต่เจ้าของเดิมที่ขายให้ไม่มีสัญญาแอบไปขายฝากจะทำอย่างไร
เมื่อครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาถึง 50 ปีแล้วแต่ ยังไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 .....ต่อมาทายาทของเจ้าของเดิมที่ไม่ดำเนินการโอนที่ให้เราตั้งแต่ต้นโดยไม่มีสัญญาซื้อขายแอบเอาโฉนดไปฝากขายโดยที่เราไม่ทราบมาก่อนพอทราบอีกครั้งก็ตอนมีคนมาดูที่ดิน อยากทราบว่าเราจะฟ้องหรือมีวิธีทางที่จะได้มาโดยชอบธรรมหรือไม่...หรือต้องเสียที่ดินนั้นไป
โดย รักพงษ์ ศรีจุลฮาต (ip1.4.167.121) อี-เมล์ รักพงษ์  ศรีจุลฮาต (ip1.4.167.121) เบอร์โทรศัพท์. รักพงษ์ ศรีจุลฮาต IP: xxx [ 2015-06-04 ]

คำตอบจาก Webmaster
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง" จากข้อสันนิษฐานข้างต้น เจ้าของที่ดินจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น คุณ
ควรจะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า คุณได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า คุณได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีและมีสิทธิในที่ดินดีกว่าเจ้าของที่ดินเดิมแล้ว คุณก็จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (เทียบนัยคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 12476/2553)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-06-06 ] ตอบ 1238
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.