สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 7 คน
 สถิติเมื่อวาน 75 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4626 คน
26342 คน
2737870 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การคิดค่าปรับจากการจ่ายค่าส่วนกลางช้า
สมมติว่ามีเจ้าของห้องค้างค่าส่วนกลางเป็นระยะเวลา 10 เดือน และข้อบังคับของคอนโดฯ กำหนดไว้เหมือน พรบ.อาคารชุด นิติฯ จะเรียกเก็บค่าปรับ แบบไหนจึงถูกต้อง ?

วิธีที่ 1
1. ตั้งแต่เกินกำหนด 15 วัน จนถึง 6 เดือน เรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 12%
2. ตั้งแต่วันที่เกิน 6 เดือน จนถึงวันที่ชำระเงิน เรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 20%

วิธีที่ 2
1. ตั้งแต่เกินกำหนด 15 วัน จนถึงวันที่ชำระเงิน เรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 12%
2. ตั้งแต่วันที่เกิน 6 เดือน จนถึงวันที่ชำระเงิน เรียกเก็บค่าปรับเพิ่มอีกในอัตรา 20%
โดย ตี๋น้อย IP: xxx [ 2016-01-27 ]

คำตอบจาก Webmaster
มาตรา 18/1 ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา 18 ภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามาตรา 18 ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปีและอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนดในข้อบังคับ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่

เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้วเห็นว่า หากค้างชำระไม่เกินหกเดือน ให้ชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี แต่หากค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ค้างชำระเกินหกเดือนเป็นต้นไปจนถึงวันที่ชำระเงิน
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-01-29 ] ตอบ 1317
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.