สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 189 คน
 สถิติเมื่อวาน 111 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6420 คน
21503 คน
2733031 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การโอนกรรมสิทธิบ้านและที่ดินจากชื่อบริษัทเป็นชื่อบุคคล
เรียนสำนักงานวัชรธรรมทนายความ เนื่องจากกระผมไม่มีความรู้เรื่องกฏหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ จึงใคร่ขอคำแนะนำ 1 เรื่อง
ผมมีเพื่อนชาวต่างชาติ ซื้อบ้านมือสองในนามบริษัท ฯ ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเป็นเวลาเกือบ 7 ปี ชาวต่างชาติจึงอยากโอนให้เป็นกรรมสิทธิในนามบุคคลที่เป็นคนไทย อยากถามว่า การโอนจากชื่อบริษัท มาเป็นชื่อบุคคล ต้องมีขั้นตอนยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่อย่างไรบ้าง ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติดังกล่าวมีทนายดูแลบริษัท ฯ เกี่ยวภาษีรายปีที่ชาวต่างชาติถือกรรมสิทธ์บ้านและที่ดินอยุ่ จะมีผลกระทบหรือการดำเนินการอย่างไร ในขณะเดียวกันต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และต่างชาติคนดังกล่าวต้องการปิดชื่อบริษัทลง มาเป็นชื่อบุคคลแทน
โดย อุรสิญจ์ (ip180.183.7.128) อี-เมล์ อุรสิญจ์  (ip180.183.7.128) เบอร์โทรศัพท์. อุรสิญจ์ IP: xxx [ 2016-03-15 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องบริษัทฯ ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กับบุคคลธรรมดา สำหรับเอกสารที่ต้องจัดเตรียมศึกษาได้ในเมนูด้านซ้ายมือ "เอกสารที่ต้องนำไปกรมที่ดิน" บรรทัดที่ 28 จากด้านบน

ปกติ บริษัทฯ จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อขายไป ก็ไม่มีภาระภาษีที่ต้องเสียในรอบปีถัดไป

ค่าใช้จ่ายในการโอนก็คือค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 ของราคาประเมิน ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 1 ของราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า

เมื่อบริษัทฯ ขายที่ดินและสิ่่งปลูกสร้างออกไปแล้ว หากประสงค์จะจดทะเบียนเลิกบริษัทฯ ก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-03-15 ] ตอบ 1336
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.