สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 65 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6508 คน
21591 คน
2733119 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การแย่งที่ดินมือเปล่า
เนื่องจาก"ย่า"ได้รับที่ดินมรดกเป็นที่ดินมือเปล่ามา เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี แต่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งขอใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
แต่"บุตรชายคนที่ 1" ยืนเรื่องขอใช้ประโยชน์ โดยไม่มีการแจ้ง และได้รับการยินยอมจากย่าที่เป็นผู้ครอบครองที่ดินนั้น ในปี 2556 ซึ่งระยะเวลาผ่านมา 3 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อย่าได้มีการแบ่งมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวให้กลับ"บุตรชายคนที่ 2" กลับถูกแจ้งข้อหาบุกรุกที่ดินโดย"บุตรชายคนที่ 1"
1. เหตุการเช่นนี้ "ย่า" จะสามารถฟ้องร้องขอที่ดินแปลงดังกล่าวคืนได้หรือไม่
2. "ย่า" สามารถฟ้องร้องการถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ ได้หรือไม่ค่ะ
โดย ปราณี แสนวงค์ (ip203.158.205.205) อี-เมล์ ปราณี แสนวงค์ (ip203.158.205.205) เบอร์โทรศัพท์. ปราณี แสนวงค์ IP: xxx [ 2016-04-17 ]

คำตอบจาก Webmaster
การทีย่าซึ่งเป็นผู้ครองครองที่ดินได้ให้ความยินยอมในการที่บุตรชายคนที่ 1 เข้าครอบครองที่ดิน จึงถือได้ว่า ย่าได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินโดยการยกที่ดินให้แก่บุตรชายคนที่ 1 แล้วเมื่อบุตรชายคนที่ 1 เข้าครอบครองที่ดิน การให้จึงสมบูรณ์ด้วยการครอบครอง บุตรชายคนที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดิน เมื่อบุตรชายคนที่ 2 เข้ารบกวนการครอบครองที่ดิน จึงเป็นความผิดฐานบุกรุก (เทียบนัยฎีกาที่ 853/2508, 15/2556)

ย่ามีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้ หากบุตรชายคนที่ 1 ประพฤติเนรคุณต่อย่า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (เทียบนัยฎีกาที่ 1014/2529)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-04-17 ] ตอบ 1348
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.