สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4686 คน
26402 คน
2737930 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ฟ้องขับไล่
ขอสอบถามค่ะ
ที่ดินของปู่เป็นที่ดินชุมชนเก่ายังไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ ปู่ไดซื้อมาจากเมีย และพี่เมียกำนันปู่ได้ปลูกบ้านทำเกษตรบนที่ดินนั้นและได้อาศัยอยู่กับภรรยาหลวง(จดทะเบียนสมรส) ภรรยาน้อย(จดทะเบียนสมรสซ้อน)และหลานชายคือนาย ก. ต่อมาปู่ได้เสียชีวิตลงในปี 2541ภรรยาน้อยของปู่ได้ไปแจ้งเปลี่ยนเป็นเจ้าบ้านแทนปู่โดยไม่ได้แจ้งให้ทายาทของปู่และภรรยาหลวงทราบ แต่นาย ก. ก็อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนั้นเหมือนเดิมโดยทำเกษตรและรับจ้างซ่อมมอเตอร์ไซค์ โดยที่ทายาทยังไม่มีการแบ่งมรดกกัน และตกลงกันว่าใครไม่มีที่อยู่อาศัยก็มาอยู่ตรงนั้น ต่อมามีการเสียค่าดอกหญ้าซึ่งชื่อผู้เสียดอกหญ้ายึดตามเจ้าบ้านคือภรรยาน้อย(นาย ก. เป็นคนเสีย ภรรยาน้อยไม่ได้อยู่) แต่ค่าไฟ ค่าน้ำ ยังไม่ได้แจ้งออกจากชื่อปู่จนปัจจุบัน ต่อมาเจ้าหน้าที่สปกมานำรางวัด นาย ก. จึงไปชี้คันเขต ซึ่ง ชื่อผู้ครอบครองคือภรรยาน้อย และในใบนั้นเจ้าหน้าที่เขียนว่า นาย ก. เกี่ยวข้องเป็นบุตร ภรรยาน้อย (ภรรยาน้อยบอกนาย ก. ว่าปู่ได้ยกที่ดินให้ตน) นาย ก. จึงไม่ได้โต้แย้งเพราะนับถือภรรยาน้อยเหมือนแม่ค
นนึง และนาย ก. ไม่ได้แจ้วให้ใครทราบเพราะภรรยาน้อยของปู่สั่งไว้ ต่อมาปี 56 นาย ข. ซึ่งเป็นบุตร ของภรรยาน้อยได้มาอาศัยอยู่บนที่ดินและได้ใช้โรงรถที่นาย ก. ต่อเติม มาทำเป็นบ้านตัวเองแบะได้ประกอบกิจการผิดกฎหมาย (ตีท่อไอเสีย) จึงทำให้เกิดการทะเลาะ กับนาย ก. บ่อยครั้ง ภรรยาน้อยของปู่ไม่พอใจจึงไปฟ้องศาลเพื่อขับไล่ให้นาย ก. ออกจากที่ดิน และชดช้ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายและค่าเช่าย้อนหลัง
คำถาม
1. ทายาทของปู่กับภรรยาหลวงสามารถเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในที่ดินคืนได้หรือไม่?
2. ในใบที้นำรางวัดได้ระบุว่านาย ก. เป็นบุตรของภรรยาน้อย ซึ่งจ้อมูลไม่ถูกต้องสามารถทำให้เป็นโมฆะได้หรือไม่?
3. ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องกรรมสิทธิ์คืนได้ นายก. สารถเรียกร้องค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินได้หรือไม่ถ้าได้ต้อวทำอย่าวไร?

โดย toonniiee (ip49.237.147.92) อี-เมล์ toonniiee (ip49.237.147.92) เบอร์โทรศัพท์. toonniiee IP: xxx [ 2016-11-27 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. เท่าที่จับใจความตามที่ถาม เจ้าหน้าที่ สปก. มานำรังวัด แสดงว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิที่จะมาขอออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้
ที่ดินดังกล่าว จึงเป็นที่ดินที่มีแต่เพียงสิทธิครอบครอง ผู้ครอบครองที่ดิน จึงมีสิทธิครอบครอง ทายาทของปู่กับภรรยาหลวงจะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง (มิใช่กรรมสิทธิ์) ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า ไดก้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี นับต่วันถูกแย่งการครอบครองหรือไม่

2. เข้าใจเอกสารดังกล่าวน่าจะเป็นเรื่องที่ภรรยาน้อย มอบหมายให้นาย ก. มาระวังชี้แนวเขต หากเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องมอบหมายให้กระทำการระวังชี้แนวเขตแทน เพราะภรรยาน้อยจะมอบหมายให้ใครมาระวังชี้แนวเขตแทนตนก็ได้ เพราะผู้ที่มาระวังชี้แนวเขตเป็นเพียงตัวแทนของภรรยาน้อยเท่านั้น

3. เรื่องนี้ คงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอีกมาก เพราะเกี่ยวพันกับเรื่องของระยะเวลาด้วย จึงไม่สามารถตอบได้

เท่าที่ตอบมา ผมก็ยังไม่แน่ใจว่า จะตอบถูกหรือผิดประการใด เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่ต้องซักถามอีกมาก เพียงแต่จับข้อเท็จจริงจากที่คุณถามมา แล้วก็พยายามจะตอบเพราะอยากให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการเท่านั้น
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-11-28 ] ตอบ 1446
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.