สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 63 คน
 สถิติเมื่อวาน 87 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4188 คน
25904 คน
2737432 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


สอบถาม ถ้าพ่อต้องการซื้อห้องชุดให้ลูกที่เป็นสัญชาติเป็นต่างชาติแล้ว ทำได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร
ขอสอบถามค่ะ

ดิฉันแต่งงานกับสามีต่างชาติ และได้โอนสัญชาติเป็นชาวต่างชาติไป 10 กว่าปีแล้ว

ตอนนี้คุณพ่ออยากจะซื้อห้องชุดในกรุงเทพฯให้ โดยให้ดิฉันมีชื่อเป็นเจ้าของห้องชุดแต่เพียงผู้เดียว

ไม่ทราบว่าทำได้หรือไม่ โดนที่ทางดิฉันจะไม่ต้องทำการโอนเงินต่างประเทศเข้าไป เพราะคุณพ่อจะเป็นคนจ่ายให้

คือทราบมาว่า มีวิธีการคือถ้าคุณพ่อซื้อในชื่อตัวเองก่อน แล้วหลังจากนั้น จะสามารถโอนห้องชุดให้ดิฉันที่เป็นลูกให้เพื่อเป็นมรดก จะมีการแค่เสียค่าธรรมเนียมตามกฏหมาย อยากทราบวิธีการนี้โดยละเอียดด้วย ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำได้ไม๊คะ?

หรือถ้ามีวิธีการอื่น กรุณาแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
โดย วรานุช เลิศประภาพงศ์ (ip101.127.57.125) อี-เมล์ วรานุช เลิศประภาพงศ์ (ip101.127.57.125) เบอร์โทรศัพท์. วรานุช เลิศประภาพงศ์ IP: xxx [ 2017-01-18 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากคุณได้สละสัญชาติไทยไปแล้ว กรณีจึงมีผลว่า คุณเป็นคนด้าว เมื่อคุณเป็นคนต่างชาติ การจะซื้อคอนโดจะต้องโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพื่อซื้อห้องชุด
2. กรณีซื้อโดยใส่ชื่อของพ่อก่อน หลังจากนั้นพ่อโอนให้ลูก มีผลว่า พ่อยกคอนโดให้ลูกซึ่งเป็นคนต่างด้าว หากโอนแล้วอัตราส่วนที่ถือครองเกินร้อยละ 49 ของเนื้อที่ทั้งหมด ห้องชุดของคุณจะต้องถูกบังคับขายตามกฎหมายภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะเสียค่าธรรมเนียม 2 ต่อ ๆ แรก 2% ต่อที่สอง 0.5%

ทางออกในกรณีดังกล่าวจึงมี 2 ทาง คือ
1. โอนเงินจากต่างประเทศมาซื้อห้องชุด หรือ
2. เดินเรื่องขอคืนสัญชาติไทยตามรายละเอียดต่อไปนี้

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขอเรียนให้ทราบว่า หากคุณเปลี่ยนสัญชาติตามสามีและได้สละสัญชาติไทยด้วยแล้ว คุณอาจกลับมาถือสัญชาติไทยดังเดิมได้ด้วยการแปลงสัญชาติเป็นไทยหรือการขอคืนสัญชาติไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
1.การแปลงสัญชาติ
ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ มาตรา 10 พ.ศ. 2508 ได้บัญญัติไว้ว่า
คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้
1. บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
2. มีความประพฤติดี
3. มีอาชีพเป็นหลักฐาน
4. มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
5. มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติในมาตรา 10 (4) (5) มิให้นำมาใช้บังคับถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
(1) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
(2) เป็นบุตร ภริยา หรือสามีของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทย
(3) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
(4) เป็นสามีของผู้มีสัญชาติไทย
พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 12ได้บัญญัติไว้ว่า
ผู้ใดจะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงผู้ประสงค์จะแปลงสัญชาติเป็นไทยตามวรรคหนึ่งซึ่งมีบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทย และบุตรนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรพร้อมกับตนได้ โดยบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 10(1) (3) (4)และ (5)
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ให้ผู้ขอแปลงสัญชาติไทยปฏิณาณตนว่า จะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศไทย
2. การขอคืนสัญชาติไทย
ตามมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551ได้บัญญัติไว้ว่า
ชายหรือหญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สละสัญชาติไทยในกรณีที่ได้สมรสกับคนต่างด้าวตามมาตรา 13 ถ้าได้ขาดจากการสมรสแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ย่อมมีสิทธิขอคืนสัญชาติไทยได้
การขอกลับคืนสัญชาติไทยให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ดังนั้น หากคุณได้สละสัญชาติไทยไปแล้วและประสงค์ที่จะเปลี่ยนกลับมาถือสัญชาติไทยใหม่ คุณก็ย่อมสามารถทำได้ตามที่กำหนดไว้ในตามพระราชบัญญัติสัญชาติฯมาตรา10 และ มาตรา 12 โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยอยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและจะมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แต่หากคุณได้ขาดจากการสมรสกับสามีไม่ว่าจะเพราะสามีคุณถึงแก่กรรมหรือเพราะการหย่า คุณก็ย่อมมีสิทธิขอคืนสัญชาติไทยได้ตามความในมาตราที่ 23 ที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยแสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลังจากที่คุณได้เปลี่ยนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทยแล้ว ถือว่าคุณเป็นพลเมืองไทยแล้วและมีสิทธิตามกฎหมายในฐานะพลเมืองไทยเช่นเดิมทุกประการ

ขอขอบคุณสำนักงานอัยการสูงสุด
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-01-18 ] ตอบ 1462
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.