สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4686 คน
26402 คน
2737930 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


มิเตอร์ไฟฟ้าเป็นกรมสิทธิ์ขอเจ้าของห้องชุดหรือส่วนรวมค่ะ
สอบทราบเรื่อง สิทธิ์มิเตอร์ไฟฟ้า. กรณีห้องชุด จดเมื่อ 29 พ.ย. 2543. ดิฉันซื้อห้องชุดจากเจ้าของเดิมอีกทีนึง เมื่อปี 59 ไม่ได้ซื้อกับนิติโดยตรง ฉะนั้นสัญญาซื้อขายก็จะทำแบบง่ายๆ. มีแค่2 แผ่น. A4 ซึ่งในสัญญาระบุว่าต้องชำระค่าบำรุงส่วนกลาง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ตามที่ทางคอนโดกำหนด ขณะทำสัญญานี้คือ ค่าส่วนกลางเดือนละ 350 บาท ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท ค่าน้ำประปาหน่วยละ 18 บาท ค่ารักษามิเตอร์ เดือนละ 50 บาทและยินยอมชำระตามอัตราที่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหน้า อันนี้คัดมาบ้างส่วนในข้อค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้จะต้องจ่าย. ก็คือเซ็นไปด้วยความไม่รู้ว่า. ค่าไฟฟ้านี้ เราต้องจ่ายกับการไฟฟ้านิน่า. เพราะถามจากเพื่อนๆที่อยู่คอนโดทุกคนจ่ายกับการไฟฟ้าหมดเลย.ก็เลยไปสอบถามกับทางนิติ. ทางนิติแจ้งว่ายังไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์มิเตอร์ไฟฟ้าให้กับเจ้าของห้องชุดสักห้อง. ต้องรอขายหมดก่อนถึงจะไปโอน. แต่คอนโดนี้ ผ่นมา 15 ปีแล้ว ยังขายไม่หมดเลย. แล้วเมื่อไหร่จะได้โอนสักทีเนี้ยกลุ้มใจ . เนื่องจากหม้อแอมป์มิเตอร์ไฟฟ้าอยู่ในห้องไฟฟ้า ไม่ได้อยู่หน้าห้องชุด ไม่ทราบว่า ยังงี้ มิเตอร์ไฟฟ้า
1. ตีความว่าเป็นกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือกรรมสิทธิ์ส่วนรวม
2. และถ้าต้องการเรียกร้องสิทธิ์ให้นิติโอนกรรมสิทธิ์มิเตอ์ไฟฟ้าให้เป็นชื่อเราต้องทำอย่างไหร่
3.กรณีมีค่าใช้จ่ายส่วนร่วม ที่มีการเรียกเก็บเพิ่มเติมต้องมีประกาศเชิญประชุม และตัองมีการลงคะแนนเสียงเห็นด้วย กี่เปอร์เซ็นต์. ของเจ้าของห้องชุด. ถึงจะทำการเรียกเก็บได้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
โดย อิ๋ว (ip49.228.252.161) อี-เมล์ อิ๋ว (ip49.228.252.161) เบอร์โทรศัพท์. อิ๋ว IP: xxx [ 2017-04-01 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. ปกติ คอนโดทั่ว ๆ ไป เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ซื้อแล้ว โครงการก็จะต้องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นชื่อของผู้ซื้อพร้อมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจากลูกค้า แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า จะต้องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าให้ลูกค้าภายในเวลาเท่าใด แต่เงื่อนไขที่ถามมาว่า ต้องขายหมดก่อน จึงจะโอนกรรมสิทธิ์มิเตอร์ไฟฟ้าให้ลูกค้า กฎหมายก็ไม่ได้เขียนไว้เช่นนั้น จึงแปลความได้ว่า โครงการจะต้องโอนกรรมสิทธิ์มิเตอร์ไฟฟ้าพร้อมทั้งเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ลูกค้า เมื่อได้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกค้าแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องโอนให้ลูกค้า หากลูกค้าเห็นว่านานเกินสมควร เพราะรอโอนหมดโครงการคงไม่ไหว ก็ควรยื่นหนังสือแจ้งให้เจ้าของโครงการ(เพราะมิเตอร์ย่อยยังเป็นชื่อเจ้าของโครงการอยู่) ให้โอนกรรมสิทธิ์มิเตอร์ไฟฟ้าพร้อมเงินประกีนให้ลูฏค้าภายในเวลาอันสมควร หากไม่โอนให้ ลูกค้าก็มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับเจ้าของโครงการให้โอนให้ได้ กรรมสิทธิ์ในมิเตอร์ไฟฟ้าจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของห้องชุด เพราะเจ้าของห้องชุดจะต้องไปจ่ายค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเอง (กฎหมายในที่นี้คือ สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่ทางราชการได้ประกาศให้ใช้บังคับระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้ซื้อ โดยอาศัยอำนาจตามพรบ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม พรบ.อาคารชุด พ.ศ. 2522
2. ตอบแล้วตามข้อ 1.
3. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะต้องอาศัยมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดในอาคารชุด (ไม่ใช่คะแนนเสียงของเจ้าของร่วมที่มาประชุม) หากคะแนนเสียงไม่ถึง ต้องเรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับจากวันประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ ใช้มติหนึ่งในสามของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดในอาคารชุด (ไม่ใช่ที่มาประชุม) หากได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็นำมติที่ประชุมไปจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับฯ ถึงจะเรียกเก็บได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-04-04 ] ตอบ 1477
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.