สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 72 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6515 คน
21598 คน
2733126 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การนับเวลาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โฉนดของผมถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน 4 พี่น้องมานาน 11 ปี
ได้มีการจดทะบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็น 4 แปลง เมื่อต้นปี 2560 นี้ โดยมีแปลงคง ชื่อทั้ง 4 คน เหลือป็นทางเข้าออก จดภาระจำยอมเรียบร้อย
ตอนนี้ผมมีความต้องการที่จะขายที่ดินทุกแปลง ทั้งแปลงคงและแปลงที่แบ่งใหม่ รวมกันให้กับบุคคลภายนอก สอบถามครับว่าการนับเวลาถือครองกรรมสิทธิ์ของโฉนดแปลงที่แบ่งใหม่ จะเริ่มนับตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ เพราะผมต้องเสียภาษีเงินได้ในอัต่ราที่ต่างกันใช่ไหมครับ
โดย Sam (ip27.55.120.62) อี-เมล์ Sam (ip27.55.120.62) เบอร์โทรศัพท์. Sam IP: xxx [ 2017-08-30 ]

คำตอบจาก Webmaster
ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนทีจะตอบ คือ การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน 4 พี่น้องมานาน 11 ปีนั้น เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดพร้อมกันในวันเดียวกันหรือไม่ หรือทะยอยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวม ขอให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วย เพราะการให้คำปรึกษาจะแตกต่างกัน

ตอบได้ในเบื้องต้นว่า การนับระยะเวลาถือครองในโฉนดแปลงใหม่เริ่มนับจากแปลงคงตั้งแต่มีชื่ออยู่ในโฉนดที่ดินแปลงคง การแบ่งแยกโฉนดใหม่ไม่มีผลทำให้ระยะเวลาการถือครองเปลี่ยนแปลงไป

ระยะเวลาถือครองกรรมสิทธิ์มีผลกับการหักค่าใช้จ่ายก่อนที่จะนำยอดดังกล่าวมาเป็นรายได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า หากหักค่าใช้จ่ายได้มาก (ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดซึ่งขึ้นกับระยะเวลาถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน) การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็จะเสียน้อยลงตามไปด้วย
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-08-30 ] ตอบ 1514
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.