สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 27 คน
 สถิติเมื่อวาน 87 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4152 คน
25868 คน
2737396 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การติดตั้งสถานีฐาน เครือข่าย บนดาดฟ้า
การติดตั้งสถานีฐาน เครือข่ายบนดาดฟ้า อาคารชุดนิติบุคคลจะต้องแจ้งลูกบ้าน และเจ้าของร่วม หรือมั้ย และ เจ้าของร่วม สามารถ ขอดูเอกสารการติดตั้ง ได้หรือมั้ย
โดย ก้อย (ip180.183.143.84) อี-เมล์ ก้อย (ip180.183.143.84) เบอร์โทรศัพท์. ก้อย IP: xxx [ 2017-10-25 ]

คำตอบจาก Webmaster
ดาดฟ้าของอาคารถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด การติดตั้งสถานีฐานเครือข่ายบนดาดฟ้าดังกล่าว โดยนิติฯ ได้รับค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนถือเป็นการจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 48 (7)แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2551 ซึ่งมาตราดังกล่าวบอกว่า จะต้องจัดประชุมใหญ่เจ้าของร่วมและจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด

ในกรณีที่เจ้าของร่วมเข้าประชุมมีคะแนนเสียงไม่ครบตามที่กำหนดไว้ดังกล่าว จะต้องเรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และในการประชุมครั้งหลังนี้จะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด

ข้อสังเกตุ การประชุมทั้งสองครั้งกฎหมายใช้คำว่า จำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดในอาคารชุด ไม่ใช่เจ้าของร่วมที่เข้าประชุม

เคยมีผู้มาขอคำปรึกษาในเรื่องนี้เหมือนกันก็ได้ให้คำปรึกษาไปว่า การจัดประชุมใหญ่ครั้งแรก ส่วนใหญ่คะแนนเสียงจะไม่ถึงครึ่ง ต้องเรียกประชุมครั้งที่สอง ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมโดยไม่จำเป็น ควรนำเรื่องนี้เสนอให้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้อนุมัติก็น่าจะเป็นการเพียงพอ แม้จะไม่ถูกต้องตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม เพราะกฎหมายอาคารชุดเองก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ว่า การนำทรัพย์ส่วนกลางออกให้เช่าแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ผ่านมติที่ประชุมใหญ่ จะมีโทษแต่อย่างใด แต่หากนิติบุคคลอาคารชุดยังไม่มีคณะกรรมการฯควรนำเรื่องนี้ขอมติจากที่ประชุมใหญ่ แม้จะเป็นการสิ้นเปลืองก็ตาม มิฉะน้้น ผู้จัดการนิติฯ อาจจะถูกลูกบ้านฟ้องร้องได้

แต่อย่างไรก็ดี แม้เรื่องดังกล่าวจะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนิติฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นมติที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาตรา 48 (3) ข้างต้น ซึ่งแท้จริงแล้ว คณะกรรมการฯไม่มีอำนาจอนุมัติ แต่ที่แนะนำให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนิติฯ ก็เพื่อป้องกันมิให้ลูกบ้านมาฟ้องผู้จัดการนิติฯเท่านั้น แต่หากก่อนให้บริษัทฯ เขาเช่าพื้นที่ดาดฟ้า ควรตรวจสอบจากเครือข่ายอื่น ๆ ว่า อยู่ในอัตราใกล้เคียงกันหรือไม่ หากใกล้เคียงกันก็ควรเสนอให้คณะกรรมการฯ อนุมัติ แล้วนำเรื่องดังกล่าวขอสัตยาบัน (ให้ความเห็นชอบย้อนหลัง)ต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งก็จะต้องได้มติตามมาตรา 48 ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเช่นกัน จึงจะถือว่าเป็นการให้สัตยาบันโดยชอบ

หมายเหตุ เป็นการให้ความเห็นทางกฎหมายข้างต้น เป็นการให้ความเห็นในฐานะส่วนตัวเนื่องจากการจัดประชุมใหญ่เพียงเพื่อเรื่องดังกล่าวเป็นการสิ้นเปลืองเงินของนิติบุคคลอาคารชุดโดยไม่มีเหตุอันควร
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-10-25 ] ตอบ 1524
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.