สถิติวันนี้ |
24 คน |
สถิติเมื่อวาน |
67 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3990 คน 64405 คน 2775933 คน |
เริ่มเมื่อ 2008-11-20 |
|
การโฆษณาขายอสังหาริมทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้กำหนดให้ข้อความต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น มีรายละเอียดดังนี้ ๑. ข้อความโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด (ก) ทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ โดยข้อความโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑) ข้อความที่แสดงว่ายังไม่ได้รับหรือได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารแล้ว ๒) เดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารชุดแล้วเสร็จ ๓) ข้อความที่แสดงว่าจะไปจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ๔) ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการ และแผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ตั้งของอาคารชุด ๕) ข้อความที่แสดงว่าที่ดินและอาคารชุดไม่มีหรือมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคลใด ๖) จำนวนชั้นและจำนวนห้องชุดของอาคารชุดนั้น ๗) ข้อความที่แสดงว่าในอาคารชุดหลังเดียวกันมีห้องชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ๘) ข้อความที่แสดงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าภาษีอากรที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ๙) รายการและขนาดของทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลางในกรณีที่มีการโฆษณาว่า จะจัดให้มีทรัพย์ส่วนบุคคลภายนอกห้องชุด หรือทรัพย์ส่วนกลางนอกจากที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด รวมทั้งเดือน และปีที่เริ่มต้นก่อสร้างหรือจัดหาและที่กำหนดว่า จะก่อสร้างหรือติดตั้งทรัพย์สินนั้นแล้วเสร็จ ๑๐) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด และในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องระบุทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว ชื่อกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคล ๑๑) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริงแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ จะไม่ระบุข้อความ ๗) ๘) และ ๙) ก็ได้
(ข) ทางวิทยุกระจายเสียง โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้าง และที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารชุดแล้วเสร็จ
(ค) ทางวิทยุโทรทัศน์ โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑) เดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารชุดแล้วเสร็จ ๒) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี
(ง) ทางป้ายโฆษณาหรือสื่อโฆษณาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยข้อความโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑) เดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารชุดแล้วเสร็จ ๒) ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการ และแผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ตั้งของอาคารชุด ๓) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี
๒. ข้อความโฆษณาห้องชุดในอาคารชุดที่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดแล้ว (ก) ทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ โดยข้อความโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑) เลขที่ของทะเบียนอาคารชุด ๒) ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการ และแผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ตั้งของอาคารชุด ๓) จำนวนชั้นและจำนวนห้องชุดของอาคารชุดนั้น ๔) ข้อความที่แสดงว่าในอาคารชุดหลังเดียวกันมีห้องชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ๕) ข้อความที่แสดงว่าห้องชุดไม่มีหรือมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคลใด ๖) ข้อความที่แสดงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าภาษีอากรที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ๗) รายการและขนาดของทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง นอกจากที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ๘) ชื่อและที่อยู่ของผู้จดทะเบียนอาคารชุด และในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องระบุทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว ชื่อกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ๙) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ จะไม่ระบุข้อความ ๔) ๖) และ ๗) ก็ได้
(ข) ทางวิทยุกระจายเสียง โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่ของทะเบียนอาคารชุด และชื่อที่อยู่ของผู้จดทะเบียนอาคารชุด
(ค) ทางวิทยุโทรทัศน์ โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑) เลขที่ของทะเบียนอาคารชุด และชื่อที่อยู่ของผู้จดทะเบียนอาคารชุด ๒) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี
(ง) ทางป้ายโฆษณาหรือสื่อโฆษณาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยข้อความโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑) เลขที่ของทะเบียนอาคารชุด และชื่อที่อยู่ของผู้จดทะเบียนอาคารชุด ๒) ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการ และแผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ตั้งของอาคารชุด ๓) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี
๓. ข้อความโฆษณาขายที่ดินโดยการแบ่งขายเป็นแปลงย่อย ไม่ว่าจะเป็นการขายเฉพาะที่ดิน หรือขายที่ดินพร้อมทั้งอาคาร (ก) ทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ โดยข้อความโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑) ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินจัดสรร และเลขที่ของใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินในกรณีที่ต้องได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ๒) ข้อความที่แสดงว่าที่ดินและอาคารไม่มีหรือมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคลใด ๓) เดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ ในกรณีที่ขายที่ดินพร้อมทั้งอาคาร ๔) ข้อความที่แสดงว่าเมื่อชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วจะโอนสิทธิในที่ดินให้ได้เมื่อใด ๕) รายการและขนาดของทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ นอกจากที่กำหนดในข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน ๖) ชื่อและที่อยู่ของผู้จัดสรรที่ดิน ผู้มีสิทธิในที่ดิน และผู้ประกอบธุรกิจขายที่ดิน และในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องระบุทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว ชื่อกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ๗) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ จะไม่ระบุข้อความ ๕) ก็ได้
(ข) ทางวิทยุกระจายเสียง โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ในกรณที่ขายที่ดินพร้อมทั้งอาคาร
(ค) ทางวิทยุโทรทัศน์ โดยการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
๑) เดือนปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ ในกรณีที่ขายที่ดินพร้อมทั้งอาคาร ๒) ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริง หรือภาพจำลองจากของจริง แล้วแต่กรณี
๔. ข้อความโฆษณาตาม (๑) (๒) และ (๓) ที่ไม่ได้แสดงให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน หรือมีขนาดความสูงของตัวหนังสือเล็กกว่าสองมิลลิเมตรสำหรับข้อความโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์หรือเล็กกว่าหนึ่งในสามของขนาดของตัวหนังสือสูงสุดที่ใช้สำหรับป้ายโฆษณาหรือสื่อโฆษณาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือที่ไม่ได้ระบุข้อความที่แสดงว่าผู้บริโภคอาจขอรับรายละเอียดของของการโฆษณาได้ที่ใด ให้ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม
Source: กฎกระทรวงฉบับที่ ๗ (พ.ศ.๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๒ ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ ๕๖ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๘) |