สถิติวันนี้ |
24 คน |
สถิติเมื่อวาน |
67 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3990 คน 64405 คน 2775933 คน |
เริ่มเมื่อ 2008-11-20 |
|
สรุปการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าว
เดิม คนต่างด้าวสามารถมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหรือซื้อห้องชุดในอาคารชุด แต่ละอาคารได้ไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมด ในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2542 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อห้องชุดของคนต่างด้าว โดยกำหนดให้คนต่างด้าวสามารถมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ไม่เกินอัตราร้อยละสี่ สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น ในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดได้ และยังได้กำหนดให้คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เกินกว่าร้อยละ สี่สิบเก้าได้ โดยมีหลักเกณฑ์ในการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้า ดังนี้
1. อาคารชุดนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เช่น เมืองพัทยา
2. ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมทั้งหมดไม่เกินห้าไร่
3. อาคารชุดนั้นจะต้องเป็นอาคารชุดที่มีห้องชุดไม่น้อยกว่าสี่สิบห้องชุด
4. อาคารชุดนั้นจะต้องจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่คนต่างด้าวขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
5. อาคารชุดนั้นจะต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
6. คนต่างด้าวต้องใช้ห้องชุดโดยไม่ขัอต่อจารีตประเพณีหรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น
อย่างไรก็ดี เมื่อครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ 28 เมษายน 2542 ให้ยกเลิก หลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้า และให้คนต่างด้าวซึ่งได้ห้องชุดตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวและคนต่างด้าวซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อเนื่องจากคนต่างด้าว ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นต่อไปได้แม้ว่าจะเกินร้อยละสี่สิบเก้าก็ตาม
Source: www.dol.go.th |