Rigth frame : "jurisquestion "
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายอาคารชุด
1. ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุด ตามกฎหมายอาคารชุดได้แก่
1.1 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่อาคารชุดนั้นตั้งอยู่
1.2 และเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดนั้น
ๆ ด้วย
ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งใน
2 ประการดังกล่าวข้างต้น
ไม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุดได้
อาคารที่จะขอจดทะเบียนอาคารชุดจะเป็นอาคารกี่หลังก็ได้
และจะอยู่ในโฉนดที่ดินกี่แปลงก็ได้
2. เอกสารที่ต้องยื่นเพื่อขอจดทะเบียนอาคารชุด มีดังนี้
2.1 โฉนดที่ดิน
สำหรับที่ดินซึ่งยังไม่มีโฉนดหรือเพียงแต่มีเอกสารแสดงสิทธิครอบครอง เช่น น.ส. 3
หรือ ส.ค. 1 จะยื่นขอจดทะเบียนอาคารชุดไม่ได้
2.2 แผนผังอาคารชุด
รวมทั้งเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ
2.3 รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด
ทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ จำนวนพื้นที่
ลักษณะการใช้ประโยน์และอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
2.4 อัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกาง
2.5 คำรับรองของผู้ยื่นคำขอว่า
อาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นปราศจากภาระผูกพันใด ๆ เว้นแต่
การจำนองอาคารรวมกับที่ดิน
2.6 ร่างข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด
2.7 หลักฐานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
อาทิ ใบรับรองการก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคาร
หรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ในกรณีที่าคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นตั้งอยู่ในท้องที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารใช้บังคับ,
หนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศหรือตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
ในกรณีที่อาคารที่ ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นตั้งอยู่ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศหรือในบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
แล้วแต่กรณี (กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด
พ.ศ. 2541)
3.ในการขายห้องชุด
ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร (เจ้าของโครงการ) จะต้องดำเนินการ
ดังนี้
3.1 การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุด
ต้องเก็บสำเนาข้อความ หรือภาพที่โฆษณา
หรือหนังสือชักชวนที่นำออกโฆษณาแก่บุคคลทั่วไป
ไม่ว่าจะทำไว้ในรูปแบบใดไว้ในสถานที่ทำการจนกว่าจะมีการขายห้องชุดหมด
และต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งชุด
3.2 การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดในส่วนที่เกี่ยวกับหลัก,านและรายละเอียดที่กำหนดไว้ในข้อ 2. ข้อความหรือภาพที่โฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่ยื่นพร้อมคำขอจดทะเบียน
และต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลางให้ชัดเจน
3.3 ให้ถือว่า
ข้อความหรือภาพโฆษณา หรือหนังสือชักชวนเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขาย
หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด แล้วแต่กรณี
หากข้อความหรือภาพใดมีความหมายขัดหรือแย้งกับข้อความในสัญญาจะซื้อจะขาย
หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้จะซื้อหรือผู้ซื้อห้องชุด
3.4 สัญญาซื้อขายห้องชุดระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้ซื้อห้องชุดจะต้องทำตามแบบสัญญาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หากมิได้ทำตามแบบและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อห้องชุด สัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับ
4. เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์อะไรบ้าง?
4.1 เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง
ทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ ตัวห้องชุดแต่ละห้องชุด
และสิ่งปลูกสร้างที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย เช่น
โรงเก็บรถยนต์ส่วนตัว ที่จอดรถส่วนตัว
และที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละรายโดยเฉพาะ เช่น สวนหย่อม
ที่ดินสำหรับทำครัว ปลูกต้นไม้ เป็นต้น เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุด
จึงมีสิทธิใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้แต่ผู้เดียว
เจ้าของห้องชุดอื่นจะมาใช้ร่วมด้วยไม่ได้ นอกจากนี้
เจ้าของห้องชุดยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่
ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารชุด ตัวอาคารชุดนอกจากส่วนที่เป็นห้องชุด เช่น ฐานราก
เสาเข็ม ดาดฟ้า
และที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วมทุกคน เช่น
สระว่ายน้ำ สนามกีฬาส่วนรวม ฯลฯ และทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น
ลิฟท์ บันได เครื่องปั๊มน้ำ หรือถังเก็บน้ำ เสาอากาศทีวีรวม เป็นต้น
เฉพาะทรัพย์ส่วนกลางนี้เจ้าของห้องชุดทุกห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางเหล่านี้
จึงสามารถใช้ทรัพย์ส่วนกลางร่วมกันได้ทุกคนเท่าเทียมกัน
4.2 พื้นห้อง
ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดแต่ละห้อง
ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น ๆ คือ
เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของห้องชุดที่มีพื้นห้องและผนังกั้นห้องร่วมกันอยู่
และการใช้ทรัพย์นั้นต้องเป็นไปตามข้อบังคับของอาคารชุด
4.3 ข้อจำกัดการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล
แม้เจ้าของห้องชุดจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและเป็นผู้มีสิทธิใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลดังกล่าวแต่ผู้เดียวก็ตาม
แต่การใช้สิทธิหรือใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้าง
ความมั่นคง หรือการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคาร เช่น
จะตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าในห้องชุดของตนย่อมไม่ได้
เพราะอาจสั่นสะเทือนต่อโครงสร้างของตัวอาคารทั้งหมด
หรือในกรณีที่มีข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดกำหนดว่า
ห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามทำเป็นร้านค้าขายอาหาร
เจ้าของห้องชุดก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น ๆ
5. อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางคืออะไร?
เมื่อจดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว
อาคารชุดนั้นจะมีทรัพย์สองส่วน คือ ทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง โดยเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและขณะเดียวกันก็มีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วย
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลไม่มีปัญหาเพราะมาตรา 13 วรรคแรกระบุว่า
เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางนั้นกฎหมายระบุว่า
เจ้าของห้องชุดทุกห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องระบุอัตราส่วนความเป็นเจ้าของทรัพย์ส่วนกลางไว้ให้แน่ชัดว่า
เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางอยู่เท่าไร ซึ่งมาตรา 14
ระบุว่า อัตราส่วนในกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างเนื้อที่ของห้องชุดแต่ละห้องชุดกับเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนเป็นอาคารชุด
เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้กำหนดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางของห้องชุดแต่ละห้องชุดว่ามีอัตราส่วนเป็นจำนวนเท่าใดของจำนวนเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในขณะจดทะเบียนอาคารชุด
เพราะเมื่อมีการจดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว
โฉนดซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชุดจะถูกเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนอาคารชุดให้
และโฉนดที่ดินดังกล่าวนั้นจะถูกนำมาใช้อีกเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกอาคารชุด
ในกรณีเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ที่ดินจะต้องจดแจ้งในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดเดิมนั้น
โดยแสดงชื่อเจ้าของร่วมที่มีชื่อใคำขอเลิกอาคารชุดให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดนั้นตามอัตราส่วนที่เจ้าของรวมแต่ละคนถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
6. การประกอบการค้าในอาคารชุด ในกรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้า
ต้องจัดระบบการเข้าออกในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
ไม่ให้รบกวนความเป็นอยู่โดยปกติสุขของเจ้าของร่วม
และห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด เว้นแต่เป็นการประกอบการค้าในพื้นที่ของอาคารชุดที่จัดไว้ดังกล่าวข้างต้น
7. ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของห้องชุดต้องช่วยกันออก
เจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องจะต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางรวม
5 ชนิด ดังนี้
7.1 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม
ของเจ้าของห้องชุดทุกห้อง ซึ่งทุกห้องจะได้รับประโยชน์จากบริการนี้เท่าเทียมกัน
เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะมูลฝอย ค่าไฟฟ้าส่วนที่ให้ความสว่างแก่ตัวอาคารชุด
(นอกห้องชุด) เช่น ระเบียง บันได โรงจอดรถ ค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัย ค่าจ้างดูแลรักษาความสะอาดอาคารชุดส่วนที่อยู่นอกห้องชุดทั้งหมด
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวมนี้
เจ้าของห้องชุดจะต้องออกค่าใช้จ่ายนี้ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
กล่าวคือ ห้องชุดแต่ละห้องจะต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดยเท่าเทียมกัน
โดยไม่คำนึงราคาห้องชุดแต่ละห้องว่าจะมีราคาแตกต่างกันหรือไม่และต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดด้วย
7.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศอาคารชุดส่วนที่อยู่นอกห้องชุด
ค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่ในห้องรับรอง [Lobby] ค่าเครื่องมือที่ใช้ในการทำความสะอาดทรัพย์ส่วนกลางเจ้าของห้องชุดทุกห้องจะต้องออกตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด
และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด คือ ออกเท่ากันทุกห้องชุดเพราะทุกห้องชุดได้รับประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
7.3 ค่าภาษีอากร
หมายถึง
เฉพาะภาษีอากรที่ต้องจ่ายในนามของอาคารชุดและเกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางเท่านั้น
โดยเจ้าของห้องชุดจะต้องออกค่าใช้จ่ายนี้ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
7.4 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง
ได้แก่ ค่าจ้างซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง เช่น
ค่าซ่อมไฟฟ้าอาคารชุดส่วนที่อยู่นอกห้องชุด ค่าซ่อมเครื่องปั๊มน้ำ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เจ้าของห้องชุดต้องออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางเช่นเดียวกับข้อ
7.3
7.5 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง
ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่น เงินเดือนผู้จัดการ
เสมียน พนักงาน เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เจ้าของห้องชุดต้องออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางเช่นเดียวกับข้อ
7.3
ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ ซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องจะต้องชำระนี้ ต้องชำระให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด
และถ้าไม่ชำระผลก็คือ นิติบุคคลอาคารชุดมีบุริมสิทธิ์เหนือทรัพย์ต่าง ๆ
ของเจ้าของห้องชุด
ในกรณีที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร
(เจ้าของโครงการ) เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
จะต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นด้วย
8.เจ้าของร่วมจะต้องชำระเงินให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด
ดังต่อไปนี้
8.1 เงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของแต่ละห้องชุดจะต้องชำระล่วงหน้า
8.2 เงินทุนเมื่อเริ่มต้นกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อบังคับ
หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่
8.3 เงินอื่นเพื่อปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไขซึ่งที่ประชุมใหญ่กำหนด
9.ผลของการไม่ชำระเงินค่าใช้จ่าย
9.1 ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินค่าใช้จ่ายภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ
9.2 ในกรณีที่เจ้าของร่วมค้างชำระตั้งแต่
6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20
ต่อปีและอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวม
หรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนดในข้อบังคับ
รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย
10.หน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุด มีดังนี้
10.1 จัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบสิบสองเดือน
โดยให้ถือว่า เป็นรอบปีในทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
งบดุลดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของนิติบุคคลอาคารชุดกับทั้งบัญชีรายรับ-รายจ่าย
และต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบบัญชี แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมภายใน
120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
10.2 จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล
และให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วมก่อนวันนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
7 วัน
10.3 เก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานและงบดุลพร้อมทั้งข้อบังคับไว้ที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้
รายงานประจำปีและงบดุล
ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
11. การออกใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่เจ้าของห้องชุด อาจมีได้ 2 กรณี คือ
11.1 หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูญหาย
11.2 หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดชำรุด
นอกจากการออกใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเนื่องจากใบเก่าสูญหายหรือชำรุดแล้ว
ยังมีกรณีอื่น ๆ
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจจะต้องออกใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดฉบับเดิม ได้แก่
(1) กรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ห้องชุดอย่างใดแล้ว
แต่ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้
ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนได้ ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2533) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ข้อ 11
(3)
(2) กรณีคนต่างด้าวได้กรรมสิทธิ์ห้องชุดมาโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอาคารชุด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งจำหน่ายห้องชุดของคนต่างด้าวนั้นได้
แต่ไม่สามารถได้มาซึ่งหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2533)
ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ข้อ
11 (4)
12. เอกสารที่ต้องนำไปเพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุด มีดังนี้
(1) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
(2) กรณีเป็นการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
ผู้ขอต้องนำหนังสือรับรองจากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดงว่า
มิได้เป็นหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 18 แนบมาด้วย
13. การประชุมใหญ่
13.1 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน
6 เดือนนับแต่วันทีได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อแต่งตั้งกรรมการ
และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดตามที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดไว้แล้ว
ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่สามัญไม่เห็นชอบกับข้อบังคับหรือผู้จัดการตามที่กล่าวข้างต้น
ให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
หรือถอดถอนหรือแต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดคนใหม่ด้วย
13.2 คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายใน
120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อกิจการ
ดังต่อไปนี้
(1)
พิจารณาอนุมัติงบดุล
(2)
พิจารณารายงานประจำปี
(3)
แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(4)
พิจารณาเรื่องอื่น ๆ
13.3 ในกรณีมีเหตุจำเป็น
บุคคลต่อไปนี้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้
(1)
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
(2)
คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดโดยมติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมคณะกรรมการ
(3)
เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้เปิดประชุมต่อคณะกรรมการ
ในกรณีนี้ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำร้องขอ
ถ้าคณะกรรมการมิได้จัดให้มีการประชุมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
เจ้าของร่วมตามจำนวนเสียงข้างต้นมีสิทธิจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญเองได้
โดยให้แต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งเพื่อออกหนังสือเรียกประชุม
13.4 การเรียกประชุมใหญ่
ต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม
และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร
และจัดส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
13.5 องค์ประชุม:
การประชุมใหญ่ต้องมีผู้มาประชุมซึ่งมีคะแนนเสียงรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด
ในกรณีที่เจ้าของร่วมมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกประชุมใหญ่ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน
และการประชุมใหญ่ครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม อนึ่ง
ผู้จัดการนิติบุคคลหรือคู่สมรสของผู้จัดการจะเป็นประธานในการประชุมใหญ่มิได้
13.6 มติของที่ประชุมใหญ่:
ต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม เว้นแต่
กฎหมายอาคารชุดจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
13.7 คะแนนเสียง:
ให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
ถ้าเจ้าของร่วมคนเดียวมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด
ให้ลดจำนวนคะแนนเสียงของผู้นั้นลงมาเหลือเท่ากับจำนวนคะแนนเสียงของบรรดาเจ้าของร่วมคนอื่น
ๆ รวมกัน
13.8 การให้บุคคลอื่นเข้าประชุมแทน:
เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้
แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดมิได้
บุคคลต่อไปนี้จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมมิได้
(1)
กรรมการและคู่สมรสของกรรมการ
(2)
ผู้จัดการและคู่สมรสของผู้จัดการ
(3)
พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลอาคารชุดหรือของผู้รับจ้างของนิติบุคคลอาคารชุด
(4)
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้จัดการ ในกรณีที่ผู้จัดการเป็นนิติบุคคล
14. มติของที่ประชุมใหญ่
14.1 มติเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1/2
ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
(1)
การซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือการรับให้อสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าภาระผูกพันเป็นทรัพย์ส่วนกลาง
(2)
การจำหน่ายทรัพ์ส่วนกลางที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
(3)
การอนุญาตให้เจ้าของร่วมทำการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
หรือต่อเติมห้องชุดของตนเองที่มีผลกระทบต่อทรัพย์ส่วนกลางหรือลักษณะภายนอกของอาคารชุดโดยค่าใช้จ่ายของผู้นั้นเอง
(4)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้
หรือการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
(5)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันในข้อบังคับ
(6)
การก่อสร้างอันเป็นการเปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมหรือปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลาง
(7)
การจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลาง
ในกรณีที่เจ้าของร่วมเข้าประชุมมีคะแนนเสียงไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้น
ให้เรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน
และมติเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนดไว้ข้างต้นนั้น ในการประชุมครั้งใหม่นี้ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
1 ใน 3 ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
14.2 มติเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1/4
ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
(1)
การแต่งตั้ง หรือถอดถอนผู้จัดการ
(2)
การกำหนดกิจการที่ผู้จัดการมีอำนาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทน
15."บทกำหนดโทษ"
15.1 ในกรณีผู้มีสิทธิในที่ดินและอาคาร (เจ้าของโครงการ)
ทำการโฆษณาขายห้องชุดต้องเก็บสำเนาข้อความหรือภาพที่โฆษณา
หรือหนังสือชักชวนที่นำออกโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปไว้ในสถานที่ทำการจนกว่าจะมีการขายห้องชุดหมดและต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งชุด
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
15.2 การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดในส่วนที่เกี่ยวกับหลักฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน
แผนผังอาคารชุดรวมทั้งเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด
ทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง ข้อความหรือภาพที่โฆษณา
จะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่ยื่นพร้อมคำขอจดทะเบียน
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 100,000 บาท
15.2 สัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายห้องชุดระหว่างผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร
(เจ้าของโครงการ)
กับผู้จะซื้อหรือผู้ซื้อห้องชุดต้องทำตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
15.3 ในกรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้า
ต้องจัดระบบการเข้าออกพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะไม่ให้รบกวนความเป็นอยู่โดยปกติสุขของเจ้าของร่วม
หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 5,000
บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.4 คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งจะต้องจำหน่ายห้องชุดของตนเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา
19 เบญจ
วรรคหนึ่งเกิดขึ้นต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในกำหนดเวลา 60
วันนับแต่วันที่มีเหตุต้องจำหน่าย
หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.5 คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวได้มาซึ่งห้องชุดโดยได้รับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรม
หรือผู้รับพินัยกรรม หรือโดยประการอื่น แล้วแต่กรณี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในกำหนด
60 วันนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ห้องชุด
หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.6 ผู้ใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดในขณะที่มีสัญชาติไทย
ถ้าต่อมาผู้นั้นเสียสัญชาติไทย เพราะการสละสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติ
หรือถูกถอนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
และมิได้เป็นคนต่างด้าวตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงการที่ไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อไปได้
ภายในกำหนดเวลา 60 วันนับแต่วันที่เสียสัญชาติไทย
หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.7 ผู้ใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดในขณะที่มีสัญชาติไทย
ถ้าต่อมาผู้นั้นเสียสัญชาติไทย เพราะการสละสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติ
หรือถูกถอนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและเป็นคนต่างด้าวตามที่ระบุไว้ในมาตรา
19 ถ้าประสงค์จะมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต่อไป
ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงการเสียสัญชาติไทย
และต้องแสดงหลักฐานว่าเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา 19 มาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน
180 วันนับแต่วันที่เสียสัญชาติไทย
หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.8 นิติบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยและมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอยู่แล้ว
ถ้าต่อมาสภาพของนิติบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่า
เป็นคนต่างด้าว และมิใช่เป็นนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงการเปลี่ยนสภาพ
และการที่ไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต่อไปได้ภายในกำหนดเวลา 60 วันนับแต่วันเปลี่ยนสภาพ หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ
มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500
บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.9 นิติบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยและมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอยู่แล้ว ถ้าต่อมาสภาพของนิติบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่า
เป็นคนต่างด้าว และเป็นนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 ถ้าประสงค์จะมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต่อไปต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบและต้องนำหลักฐานว่าเป็นนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา
19 มาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 180 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนสภาพ หากไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ
มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500
บาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่
15.10 บุคคลใดถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าว
หรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว
ไม่ว่าคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าวจะมีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามกฎหมายอาคารชุดหรือไม่ก็ตาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15.11 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่เจ้าของร่วมภายใน
15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว
ปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง
15.12 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่นำมติแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด
ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ
ปรับ 5,000 บาท
15.13 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งได้รับแต่งตั้งไม่นำหลักฐาน หรือสัญญาจ้างไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน
30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ ปรับ 5,000
บาท
15.14 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่นำมติแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไปจดทะเบียนภายใน
30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
15.15 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 6
เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ปรับไม่เกิน 5,000
บาท
15.16 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำเดือน
และไม่ติดประกาศให้เจ้าของร่วมทราบภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนและไม่ติดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
15 วันต่อเนื่องกัน ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง
15.17 ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไม่เรียกประชุมคณะกรรมการภายใน 7
วัน เมื่อกรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร้องขอ
ปรับประธานกรรมการ ไม่เกิน 5,000 บาท
15.18 ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไม่เรียกประชุมคณะกรรมการหนึ่งครั้งในทุกหกเดือนเป็นอย่างน้อย
ปรับประธานกรรมกรไม่เกิน 5,000 บาท
15.19 นิติบุคคลอาคารชุดไม่จัดทำงบดุลอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบสิบสองเดือน
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
15.20 นิติบุคคลอาคารชุดไม่จัดให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีรับรองงบดุล
แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ผู้จัดการนิติบุคคลต้องรับโทษปรับด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น
15.21 นิติบุคคลอาคารชุดไม่จัดทำรายงานประจำปี
และไม่นำส่งสำเนารายงานประจำปีดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วมก่อนวันนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
7 วัน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ผู้จัดการนิติบุคคลต้องรับโทษปรับด้วย
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น
15.22 เจ้าของร่วมดำเนินการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
หรือต่อเติมห้องชุดของตน โดยมิได้รับมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
15.23 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในที่ดินและอาคารชุดที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด
ไม่มาตามหนังสือเรียก ไม่ให้ถ้อยคำ ชี้แจง ไม่จัดส่งเอกสารตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียก
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Source: www.dol.go.th
|