สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 30 คน
 สถิติเมื่อวาน 67 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3996 คน
64411 คน
2775939 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


บุริมสิทธิ์
โฉนดที่ดิน เป็นกรรมสิทธิ์ ของ บริษัท ก.จำกัด ต่อมา กรรมการ(นายหนึ่ง) เป็นผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ดังกล่าว ได้ประสงค์จะก่อสร้างอาคารโรงงาน ขึ้นบนโฉนดทีดินแปลงดังกล่าว โดยได้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างและได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง(อ.1) เป็นในนามกรรมการ(นายหนึ่ง)
สรุปได้ว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ก.จำกัด ส่วนอาคารโรงงานได้รับใบอนุญาตเป็นของบุคคล (นายหนึ่ง กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท) กรณีนี้ หากไปขอสินเชื่อกับธนาคาร ในนาม บริษัท ก.จำกัด เพื่อจะก่อสร้าง จะสามารถจดจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้าง(แบบพิมพ์เขียว) จะได้หรือไม่ เนื่องจากกรรมสิทธิ์ที่ดินและสอ่งปลูกสร้าง ไม่ตรงกัน จะถือเป็นส่วนควบหรือไม่ หรือต้องจำนองเพิ่มหลักทรัพย์...ขอบคุณครับ
โดย PA (ip202.94.73.128) อี-เมล์ PA (ip202.94.73.128) เบอร์โทรศัพท์. PA IP: xxx [ 2019-05-09 ]

คำตอบจาก Webmaster
ปกติ ในการจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ธนาคารฯจะพิจารณาว่า เป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ เพราะหากที่ดินเป็นของบริษัทฯ แต่อาคารที่ก่อสร้างเป็นของกรรมการบริษัทฯ แม้จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทฯ ก็ตาม แต่กรรมการก็ไปขอใบอนุญาตก่อสร้างในนามส่วนตัว ไม่ได้ขอในนามบริษัทฯ จึงต้องถือว่า ที่ดินเป็นของบริษัท อาคารเป็นของกรรมการในฐานะส่วนตัว ธนาคารฯ คงไม่อนุมัติสินเชื่ิอ เนื่องจากจะมีปัญหาในการบังคับคดี แนวทางในการแก้ปัญหา ควรให้กรรมการไปทำเรื่องโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้บริษัทฯ เพื่อให้อาคารเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ แล้วจึงขอยื่นกู้

ธนาคารฯ จะไม่ตีความว่าอาคารเป็นส่วนควบหรือไม่ แต่จะพิจารณาจากเอกสารอย่างเดียว เนื่องจากจะมีปัญหาในการบังคับคดี ส่วนกรณีจำนองเพิ่มหลักทรัพย์นั้น ธนาคารฯ จะนำมาใช้กรณีที่ทรัพย์ที่จำนองไม่คุ้มกับจำนวนหนี้ที่ให้กู้ จึงแจ้งให้ผู้กู้หาหลักทรัพย์อื่นมาจดทะเบียนจำนองเพิ่ม กรณีไม่ต้องด้วยข้อเท็จจริงตามที่ถามมา
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2019-05-09 ] ตอบ 1590
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.