สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 171 คน
 สถิติเมื่อวาน 80 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
318 คน
27109 คน
2738637 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด
1. เจ้าของร่วม มีสิทธิ์ขอเอกสารข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจาก นิติบุคคลอาคารชุดหรือไม่ ถ้านิติบุคคลไม่ให้เอกสารข้อบังคับนิติกับเจ้าของร่วมจะมีบทลงโทษหรือไม่

2 ปกติกฏหมายบังคับหรือไม่ว่าจะต้องเก็บสำเนาบ้อบังคับไว้ที่ สนง.นิติ บุคคลอาคารชุด ถ้ามีกำหนดไว้ จะมีบทลงโทษหรือไม่ถ้าไม่ได้เก็บที่สนง.นิติฯ

3. กรณี ผจก.นิติบุคคล ไม่ได้นำข้อบังคับนิติฯที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 69 คือต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท อยากทราบว่าจะแจ้งความที่ตำรวจ หน่วยงานใด และค่าปรับ 5000 บาท ผจก.นิติ ต้องเป็นคนจ่ายเองด้วยเงินส่วนตัว หรือ ผจก.นิติสามารถเบิก/ใช้เงินจาก ค่าส่วนกลางที่เจ้าของร่วมร่วมกันจ่ายเป็นรายปีได้

4. เมื่อไปขอข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด ของอาคารชุดB ที่กรมที่ดิน แต่ไม่พบเอกสารข้อบังคับนิติบุคคล และสำเนาเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกที่จัดขึ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ของอาคาร B เห็นแต่รายชื่อคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดของอาคารB แต่ไม่เห็นเอกสารเกี่ยวกับข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของอาคารB เลย (มีการประชุมเจ้าของร่วมเกิดขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มค่าใช้จ่ายค่าส่วนกลาง แต่ ผจก.นิติ ไม่ได้จดทะเบียน ข้อบังคับนิติบุคคล ที่กรมที่ดินหลังจากที่ได้มีการประชุมใหญ่ครั้งแรก จึงไม่มีเอกสารข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของอาคาร B ณ.กรมที่ดิน ตอนนี้ที่กรมที่ดินมีแต่ ร่างสำเนาข้อบังคับนิติบุคคลอันเก่า คือของอาคาร A (ที่ีผู้ประกอบการยื่นข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของอาคาร A ตอนขอจดทะเบียนอาคารชุดB หรือ ยื่นข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของอาคาร A ตอนขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด B โดยอาจแจ้งว่า ใช้ข้อบังคับแบบเดียวกันก่อน จนกว่าจะมีมติในที่ประชุมใหญ่ครั้งแรก ซึ่งในเอกสารข้อบังคับนิติบุคคลที่ยื่นไว้ก็ระบุว่าเป็นของอาคารA ไม่ใช่ B แล้วก็ไม่มี ข้อบังคับนิติบุคคลฮาคารชุดของอาคาร B ในแฟ้มเลย เหมือนกับไม่ได้มาแจ้งจดทะเบียนเพิ่มเติม หลังการประชุมใหญ๋ ) อาคาร B เริ่มจดทะเบียนอาคารชุดปี 2552 ตอนนี้ปี 56 แล้ว อยากทราบว่า

4.1 ผจก.นิติบุคคล จะโดนลงโทษตามมาตรา 69 คือปรับ 5000 บาทเหมือนเดิม หรือต้องโทษมากกว่านั้น

4.2 ตามมาตรา 35/3 (5) ผจก.นิติฯ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง พรบ.อาคารชุด (ฉบับที่4) พ.ศ.2551 หรือ กฏกระทรวงตาม พรบ.นี้ (พรบ.กำหนดให้ผจก.ยื่นจดเบียนข้อบังคับนิติฯ เมื่อมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ หรือ จดทะเบียนข้อบังคับนิติฯ ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วจากมติเจ้าของร่วมจากการประชุมใหญ่ครั้งแรก) ผจก.นิติจะพ้นจากตำแหน่งด้วยมาตรานี้ได้หรือไม่ และต้องร้องเรียนที่ใด

4.3 เจ้าของร่วมจะทำอย่างไร ในเมื่อไม่มี ข้อบังคับนิติบุคคลของอาคารชุด B ที่กรมที่ดิน จะขอบ้อบังคับนิติบุคคลจากผจก.นิติฯก็เงียบ จะร้องเรียนได้ที่ใด
โดย กุ้งต้ม (ip1.20.1.181) อี-เมล์ กุ้งต้ม (ip1.20.1.181) เบอร์โทรศัพท์. กุ้งต้ม IP: xxx [ 2013-11-24 ]

คำตอบจาก Webmaster

ตามพ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 25514 มาตรา 4 ยกเลิกความในมาตรา 6 เดิม และใช้มาตรา 6 ใหม่ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ในการยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุดจะต้องแนบร่างข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดด้วย ตามมาตรา 6  (6) เมื่อเอกสารแนบคำขอไม่ครบ ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับคำขอจนกว่าเจ้าของโครนงการจะแนบเอกสารประกอบคำขอให้ครบ แต่กรณีก็อาจเป็นไปได้ว่า ตอนยื่นคำขอเอกสารครบ ต่อมาเอกสารสูญหายไป


4.1 กรณีที่ผู้จัดการจะมีความผิดตามตามมาตรา 69 ฐานฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรค 2 คือ ไม่นำข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติมจากข้อบังคับที่เจ้าของโครงการได้ยื่นไว้ในขณะจดทะเบียนอาคารชุด ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ จะต้องปรากฏว่า มีข้อบังคับเดิมที่เจ้าของโครงการได้ยื่นเอาไว้ในขณะยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุด แล้วต่อมาเจ้าของร่วมมีมติแก้ไข แล้วผู้จัดการไม่นำไปจดทะเบียนจึงจะมีความผิด แต่ตามข้อเท็จจริงที่สอบถาม ไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด B ในขณะจดทะเบียนอาคารชุด จึงเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่า มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือไม่ 


4.2 การพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 35/3 คือ (1) ตายหรือสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล (2) ลาออก (3) สิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 35/1 (5) ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอาคารชุดหรือกฎกระทรวง หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง และที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติให้ถอดถอนตามมาตรา 49 (6) ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติให้ถอดถอน เมื่อความปรากฏว่าผู้จัดการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายอาคารชุด และที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติให้ถอดถอนแล้ว ผู้จัดการย่อมพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 35/3 (5) หากผิดกฎหมาย แต่เจ้าของร่วมไม่มีมติให้ถอดถอน ผู้จัดการก็ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง หน่วยงานที่ร้องเรียนไม่มี เพราะกฎหมายอาคารชุดให้อำนาจที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมลงมติถอดถอนแล้ว


4.3 เมื่อไม่มีข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด B ที่กรมที่ดิน ก็ควรจะทำหนังสือสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดินว่า เหตุใดจึงไม่มี เพราะกฎหมายบังคับให้แนบร่างข้อบังคับตั้งแต่ยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-11-27 ] ตอบ 1019

1-2. มาตรา 38/3 ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษา........ข้อบังคับไว้ที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้"


กรณีไม่เก็บรักษาข้อบังคับฯ ไว้ที่สำนักงานนิติบุคคลฯ เป็นความผิดตามมาตรา 70 ประธานกรรมการต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และปรับนิติบุคคลอาคารชุดตามมาตรา 71 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และผู้จัดการนิติฯ ต้องรับโทษด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น


3. แจ้งที่สถานีตำรวจที่นิติบุคคลอาคารชุดอยู่ในเขตพื้นที่เพราะถือว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดที่ผู้จัดการเป็นผู้กระทำ ผู้จัดการจึงต้องจ่ายด้วยเงินส่วนตัว ไม่มีสิทธิจะนำเงินส่วนกลางไปจ่าย


4. ขอตอบในโอกาสถัดไปนะครับ ติดงานบริษัทฯ ที่ทำงานประจำอยู่ ต้องขอโทษด้วยครับ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-11-26 ] ตอบ 1018
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.