สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 134 คน
 สถิติเมื่อวาน 80 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
281 คน
27072 คน
2738600 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ที่ดินมีสนามหญ้ารอบอาคารชุดบ้านเอื้ออาทร 5 ชั้น เป็นทรััพย์ส่วนกลางใช่หรือไม่ครับ
เมื่อเดือนตุลาคม 2556 มีการเทปูนตรงที่ดินด้านกว้างของอาคาร(ซึ่งเดิมทีเป็นที่ปรับพื้นเสมอกับฟุตบาททางเดินมีการปลูกหญ้า) เพื่อทำเป็นที่จอดรถมอเตอร์ไซ จักรยาน
ใช้เงินการเทปูนจากส่วนกลางเจ้าของร่วม ประมาณ 8000 bath (พื้นที่กว้าง 1.5 m ยาว 9 m )
มี การกระทำเทปูนโดยไม่ได้รับการลงมติจากเจ้าของร่วม(กำลังมีการประชุมใหญ่สามัญวันที่ 15 ธันวาคม 2556 นี้ ) อยากทราบว่าเป็นความผิดของ ผ,จ,ก ตามมาตรา 48 (6) ใช้หรือไม่ครับ ,ต้องไปแจ้งเหตุกับ เจ้าหน้าที่ตำหรวจ ,ที่ดิน, ร้องทุกข์กับใคร(บอก ลักษณะแนวทางการแจ้ง เพื่อป้องกันการถูกฟ้องกลับ หรือเสียชื่อดัวยครับ
ฝาเหล็กปิด เปิดถังนํ้า (กว้าง70 ยาว70 ) เป็นทรัพย์ส่วนกลางด่วยใช่หรือไม่ครับ ( เดือนก่อนก็มีการแปลียนแปลง ของเดิมชำรุด 20 เปอร์เซนต์ สามารถเชื่อมแก่ไขได้ แต่มีการเปลี่ยนไปเป็นของใหม่ แต่เหล็กหนากว่าเดิมจาก 1 m,m เป็น 5 m,m, ) ก็ไม่ไ้ด้ผ่านมติประชุม ใช้เงินจากเจ้าของร่วม ควรไปแจ้งความกับใคร เป็นข้อหายักยอกทรัพย์ และข้อหาไดอีก
ลักษณะ นิติบุคล ผ,จ,ก พยายามยักยอกทรัพย์ในการ จัดซื้อบวกมูลค่า รับเปอร์เซนต์ จากค่าของ ๋(ลักษณะทั้ง 2 รายการ นิติบุคคลอ่างเป็นการเร่งด่วนได้หรือไม่ครับ ) จัดการ ดังกล่าวยังไงต่อไปดี ขอบคุณ ครับ
โดย ิBMW IP: xxx [ 2013-12-04 ]

คำตอบจาก Webmaster

หากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทรัพย์ส่วนกลาง (โดยจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจจากคำขอจดทะเบียนอาคารชุดที่สำนักงานที่ดิน) หากเป็นทรัพย์ส่วนกลางจริง การก่อสร้างอันเป็นการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลางจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมตามมาตรา 48 (6) แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 โดยพ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551มาตรา 27


กรณีผู้จัดการกระทำโดยไม่ผ่านมติที่ประชุม กฎหมายไม่ได้กำหนดโทษไว้เหมือนกับกรณีเจ้าของร่วมทำการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุงห้องชุดของตนเองที่มีผลกระทบต่อทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะคือปรับไม่เกิน 100,000 บาทตามมาตรา 72


กรณีดังกล่าวเป็นการบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งผู้จัดการมีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  แต่การไม่นำเข้าที่ประชุมจึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายและขัดต่ออำนาจหน้าที่ของผู้จัดการตามตามมาตรา 36 (1) แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 โดยพ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551มาตรา 20  กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำไปตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลอาคารชุด ไม่น่าจะเป็นเจตนายักยอกทางอาญา


หากเห็นว่า ผู้จัดการปฏิบัติหน้าที่ไม่โปร่งใส ควรเรียกประชุมวิสามัญและลงมติถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดตามมาตรา 49 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 โดยพ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551มาตรา 27.

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-12-05 ] ตอบ 1030
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.