สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4688 คน
26404 คน
2737932 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


เรื่องภาษีอากร&ภาษีหักณ.ที่จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดมีอะไรบ้าง
เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ให้กับผู้มีเงินได้ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง นิติบุคคลอาคารชุดและผู้มีเงินได้ต้องรับผิดร่วมกันในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฏรกาและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542)

1. ตามมาตรา18วรรค1 (ตำราคำอธิบายกฏหมายห้องชุด)เขียนแต่คำว่า ค่าภาษีอากร ซึ่งไม่ทราบว่า ภาษีอากรในที่นี้ มีอะไรบ้าง ที่ต้องยื่นต่อเดือน ต่อครึ่งปี ต่อปี และยื่นที่ไหน (รบกวนช่วยแจ้งด้วยนะคะ เนื่องจากถ้าหาผจก.นิติฯมาเองก็ต้องทราบว่าต้องจ่ายภาษีอะไรบ้างค่ะ)

2. ถ้าผจก.นิติฯ เงินเดือน 30000 บาท ช่างประจำอาคารเงินเดือน 9000 บาท พนง.จัดซื้อบัญชี เงินเดือน 9000 บาท ต้องยื่นภาษีอะไรบ้างคะ เช่น ประกันสังคมพนังงาน, ภงด.1(ยื่นหักภาษีเงินได้พนักงานต่อเดือน) , ภงด.1ก (สรุปรายการการจ่ายเงินได้และการหักภาษีของพนักงานต่อปี), และภงด 90,ภงด91 ต้องยื่นด้วยหรือไม่ (ช่วยแจงแค่ว่าแบบภงดไหนต้องยื่น หรือ ไม่ต้องยื่นค่ะ เพราะงงเห็นคล้ายกัน )

3. กรณีจ้างคนมาซ่อมบันได ประตูอาคารที่เป็นส่วนกลาง หรือ จ้างผู้รับเหมาจากภายนอก จ้างตัดหญ้า ต้องเสียภาษีหักณที่จ่าย ตาม ภงด.3 หรือ ภงด53 เท่านั้นใช่หรือไม่

4.กรณี ผจก.นิติฯ มารับหน้าที่แทน และขอข้อมูลจากนิติฯว่า ห้องใดยังค้างค่าใช้จ่ายส่วนกลางบ้าง
4.1 ถ้าบริษัทนิติฯไม่ยอมให้ข้อมูลใดๆเหมือนเดิม ผจก.นิติฯคนใหม่จะออกใบรับรองปลอดหนี้ได้หรือไม่
4.2 ถ้าออกไปแล้วจะมีความผิดรับโทษใดบ้าง ต้องชดใช้หนี้ที่เจ้าของร่วมนั้นยังค้างชำระหรือไม่
4.3 หรืออ้างได้ว่า บริษัทนิติฯ ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลเอง ดังนั้นบริษัทนิติฯควรเป็นผู้รับผิดชอบเอง

5. ถ้าฝั่งเจ้าของร่วมที่เป็นผู้ซื้อ ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการหรือผจก.นิติฯแล้ว บริษัทนิติฯยังสามารถปิดบังข้อมูลที่ขอได้หรือไม่ ไม่ว่าจะขอข้อมูลอะไรก็ตาม เพื่อแกล้งทำให้คณะทำงานชุดใหม่ ทำงานไม่สะดวก และจะร้องเรียนที่หน่วยงานไหนได้บ้าง หรือมีโทษตามกฏหมายหรือไม่
(ขอบคุณค่ะ)
โดย Primy (ip27.55.1.242) อี-เมล์ Primy (ip27.55.1.242) เบอร์โทรศัพท์. Primy IP: xxx [ 2014-11-03 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. ภาษีที่นิติบุคคลอาคารชุดต้องยื่น ได้แก่
1.1 ภาษีเงินได้ของนิติบุคคลฯ ปกติไม่มีหน้าที่เสีย ยกเว้น นิติบุคคลฯมีรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้ค่าส่วนกลางที่เก็บจากลูกบ้าน เช่น
ค่าถ่ายเอกสาร ค่าขายเครื่องดื่ม ค่าให้เช่าพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ ภงด.51 (ภาษีครึ่งปี) ภายใน
31 ส.ค. ทุกปี และ ภงด.50 (ทั้งปี) ภายใน 30 พ.ค. ทุกปี (กรณีงวดปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธ.ค.)
1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อนิติบุคคลต้องจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่อยู่ในข่ายจะต้องหักภาษี เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า
ค่าเบี้ยประกัน ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา เป็นต้น จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ แล้วนำส่งสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดมา เดือนไหนไม่มีการจ่าย
ก็ไม่ต้องนำส่งภาษี (ใช้แบบภาษี ภงด.1 ,3 , 53 )
ตาม 1.1 และ1.2 ต้องยื่นแบบภาษี ณ สำนักงานสรรพากรสาขา ในเขตที่นิติบุคคลอาคารชุดตั้งอยู่

2. การหักภาษีเงินเดือนพนักงานต้องคำนวณว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่
ผจก. เงินเดือน 30,000 ถ้ารับเงินเเต็มปี(12 เดือน) และเป็นโสด ต้องหักภาษีเดือนละ 462.50 บาท โดยต้องยื่นแบบภาษี ภงด. 1 ภายใน
วันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินเดือน สำหรับคนที่มีเงินเดือน 9,000 ไม่ต้องหักภาษี เพราะเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์
ภงด.1ก ใช้สรุปเงินเดือนที่จ่ายทั้งปีของทุกคน (ทั้งคนที่ถูกหักภาษีประจำเดือน และคนที่ไม่ถูกหัก) โดยจะต้องยื่น ภงด. 1ก ภายใน
วันที่ 28 ก.พ. ทุกปี(ปีละครั้ง และไม่มีภาษีเสีย เพราะเป็นการสรุปเท่านั้น)
แบบภาษีที่บุคคลที่มีเงินได้ต้องยื่น
แบบภาษี ภงด.91 ใช้ยื่นสำหรับบุคคลผู้มีรายได้เงินเดือนประเภทเดียว ภงด.90 ใช้ยื่นสำหรับบุคคลผู้มีรายได้หลายประเภท เช่น เงินเดือน ค่าเช่า
ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ โดยยื่นปีละครั้ง ภายใน 31 มี.ค. ของทุกปี

ประกันสังคมของพนักงาน ต้องหัก 5 % ของเงินเดือน แต่เงินเดือนสูงสุดที่หักต้องไม่เกิน 15,000 บาท การนำส่งเงินประกันสังคม นิติบุคคลต้อง
จ่ายเงินสมทบเท่ากับจำนวนเงินที่หักจากพนักงานด้วย(อีก 5 %) โดยต้องยื่นแบบนำส่งเงินสมทบประจำเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่นิติบุคคลอาคารชุดตั้งอยู่ หรือจ่ายผ่านธนาคารที่รับแบบก็ได้

3. ถ้าจ้างช่างซ่อม จ้างผู้รับเหมา หรือคนตัดหญ้า จำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป ต้องหักภาษี 3 % และผู้จ่ายเงินคือนิติบุคคลฯจะต้องออกใบหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ไว้กับผู้ถูกหักภาษีด้วยทุกครั้งที่หัก การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องยื่นภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายโดยใช้แบบ ภงด. 3 กรอกสำหรับผู้ถูกหักที่เป็นบุตคล แบบ ภงด.53 ใช้สำหรับผู้ถูกหักที่เป็น บริษัทหรือ หจก.

4.1 เมื่อไม่ได้ข้อมูลการค้างชำระ ผจก.นิติฯ คนใหม่จะออกใบปลอดหนี้ได้อย่างไร เพราะการออกใบปลอดหนี้เหมือนเป็นเอกสารรับรองว่า ลูกบ้านไม่ได้เป็นหนี้ค้างชำระกับนิติบุคคลอาคารชุด
4.2 ถ้าออกโดยไม่ตรวจสอบ ก็ถือว่า ทำหน้าที่โดยประมาท ต้องรับผิดต่อนิติบุคคลอาคารชุด
4.3 ไม่สามารถกล่าวอ้างได้

5. ไม่สามารถปิดบังข้อมูลที่ขอได้ ไม่มีช่องทางให้ร้องเรียน นอกจากเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วมและลงมติถอดถอนผจก.นิติฯ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-11-12 ] ตอบ 1179
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.