สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 68 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4752 คน
26468 คน
2737996 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


พี่ขอแบ่ง น.ค.3 จากน้อง
ปู่เป็นสมาชิกที่ดินของนิคม ปู่ตาย ย่าเป็นสมาชิกต่อ ปู่กับย่ามีลูกด้วยกัน 4 คน เสียชีวิต2 คน คงเหลือพี่ชายของพ่อ เปนลุง และพ่อของดิฉัน พ่อของดิฉันรับช่วงต่อเป็นสมาชิกของนิคม โดยที่ดินที่อยู่ปัจจุบันมี 25 ไร่ พ่อได้เสียภาษีที่ดินทุกปีและ ปี 56 ได้หนังสือแสดงการทำประโยชน์ น.ค.3 ได้ประมาณปีกว่าๆ ยังไม่ครบ 5 ปี ที่จะขึ้นโฉนด ต่อมา ปี 57 พ่อเสียชีวิต พี่ของพ่อคือลุง ได้ถือหนังสือว่าพ่อเขียนว่ายกที่ดินให้ 10 ไร่ บอกว่ามีลายเซนผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อย ดิฉันและแม่ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย ดิฉันไปนิคมเพื่อรับมรดกที่ดินกับน้อง แต่นิคมไม่ทำเอกสารให้บอกว่า มีคนคัดค้านคือลุง ทั้งที่ลุงไม่ได้เป็นสมาชิกนิคมอะไรเรย เพียงแต่บอกว่าเป็นทายาทของปู่จะรับมรดกโดยแบ่งจากพ่อ เมื่อเดือน พ.ค.58 ลุงๆไปฟ้องศาล พอวันอ่านคำพิพาษา ลุงถอนฟ้อง บอกว่าไม่มีเงินเสียค่าศาลอ่านคำพิพากษา และห้ามเอาเรื่องนี้มาฟ้องอีก ต่อมาลุงไปร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมของแบ่งที่ดิน
ดิฉันขอถามเป็นข้อๆนะคะ
1.ลุงใช้หลักฐานโดยอ้างว่าพ่อยกให้มาแบ่งที่ดินได้หรือไม่
2.ลุงเปนเป็นทายาทของปู่ ตอนปู่เสีย ทำไมไม่รับมรดกทั้งที่รู้อยู่ ไม่เอา แล้วจะมาเรียกสิทธิ์รับมรดกตอนนี้ได้หรือไม่คะ
3.เจ้าหน้านิคมฯ ลูกไปรับมรดกมรกดที่ดินยื่นเอกสาร แต่เจ้าหน้าที่ไม่ทำให้ให้ทำอย่างไรคะ
ขอบคุณคะ น้องพร

โดย คุณพร (ip27.55.106.17) อี-เมล์ คุณพร (ip27.55.106.17) เบอร์โทรศัพท์. คุณพร IP: xxx [ 2015-07-26 ]

คำตอบจาก Webmaster
ถ้าสมาชิกนิคมสร้างตนเองตายก่อนได้รับโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกทายาทโดยธรรมและมีคุณสมบัติตามมาตรา 22 (มีสัญชาติไทย, มีความประพฤติดีและเต็มในทีจะปฏิบัติตามที่อธิบดีกำหนด,ขยันขันแข็งมีร่างกายสมบูรณ์และสามารถประกอบการเกษตรได้, ไม่เป็นวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ,ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีแต่เพียงเล็กน้อย ไม่พอแก่การเลี้ยงชีพ, ไม่มีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นพอแก่การครองชีพ) เข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแทน (มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญีติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511)

1-2. การเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง แทนผู้ตาย คณะกรรมการจะต้องเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตามหลักกฎหมายข้างต้น การที่ลุงใช้หลักฐานโดยอ้างว่าพ่อยกให้มาแบ่งที่ดินได้หรือไม่ การที่ลุงมาใช้สิทธิ์รับมรดกคชตอนนี้ จะสามารถทำได้หรือไม่ นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ เพราะกรรมการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก

3. ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-07-28 ] ตอบ 1252
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.