สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 11 คน
 สถิติเมื่อวาน 93 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4788 คน
26504 คน
2738032 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


กู้ร่วมกับเพื่อน






  ผมมีเรื่องจะรบกวนสอบถาม เมื่อปี พศ.2546 เพื่อนได้มาขอให้ผมช่วยยื่นกู้ร่วมซื้อคอนโดมิเนียม เป็นจำนวนเงิน 260,000 บาทกับทางธนาคารไว้ และระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของเพื่อนคนเดียว ซึ่งปัจจุบันเพื่อนได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดและไม่ได้ส่งค่างวดให้กับทางธนาคาร ทางธนาคารแจ้งมาว่ากำลังดำเนินการยื่นเรื่องสั่งฟ้องศาล ผมได้ติดต่อไปเพื่อให้เพื่อนมาดำเนินการจ่ายค่างวดหรือประกาศขายห้องเพื่อให้หมดภาระหนี้สิน แต่เขาไม่มาดำเนินการอะไรเลย ผมเลยอยากจะรบกวนสอบถามว่า ผมมีชื่อเป็นผู้กู้ร่วม จะสามารถดำเนินการแบบไหนได้บ้างครับ ถ้าผมจ่ายยอดหนี้ทั้งหมดเองแล้วผู้ถือกรรมสิทธิ์จะสามารถเปลี่ยนเป็นของผมได้มั้ยครับ ผมกลัวว่าจ่ายไปแล้ว เพื่อนจะไม่ยอมมาโอนให้ผมครับ  และผมควรดำเนินการอย่างไรต่อ รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ


 

โดย วัชรพงษ์ ทิพย์ประคอง (ip61.91.81.226) อี-เมล์ วัชรพงษ์  ทิพย์ประคอง (ip61.91.81.226) เบอร์โทรศัพท์. วัชรพงษ์ ทิพย์ประคอง IP: xxx [ 2016-04-21 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีดังกล่าว ตามกฎหมายถือเป็นหนี้ร่วม เมื่อไม่ได้แยกจำนวนหนี้ว่า ใครต้องรับผิดชอบหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตามกฎหมายถือว่า ลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่า ๆ กัน นั่นคือ คุณรับผิดชอบจำนวนหนี้ครึ่งหนี่ง เพื่อนคุณรับผิดชอบอีกครึ่งหนึ่ง (มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ป.พ.พ.) ซึ่งในกรณ๊ที่คุณได้ใช้หนี้ส่วนของเพื่อนคุณไปแล้ว คุณย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารเจ้าหนี้ และฟ้องบังคับให้เพื่อนคุณชำระหนี้ส่วนของเพื่อนที่คุณได้ชำระแทนไปแล้วได้ (มาตรา 229 (3), ม. 226 ป.พ.พ.) เมื่อศาลพิพากษาให้เพื่อนคุณชำระหนี้ให้คุณแล้ว หากเพื่อนไม่ชำระ คุณในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลย่อมมีสิทธิที่จะยึดคอนโดของเพื่อนออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้คุณ หรือคุณจะเข้าประมูลซื้อเองก็ได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-04-23 ] ตอบ 1350
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.