สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 6 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4690 คน
26406 คน
2737934 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


หนังสือมอบอำนาจ(สำหรับจดภารจำยอมแทน)
1. ขอสอบถามว่าเราสามารถใช้ใบมอบอำนาจให้ผู้รับมอบจดภารจำยอมได้หรือไม่
2.ในกรณีเจ้าของที่ดินไม่สามารถเซนต์ใบมอบอำนาจสามารถใช้พิมพ์นิ้วได้หรือไม่(เนื่องจากเจ้าของที่เป็นอัมพาต)
3.ในการมอบอำนาจไม่สามารถใช้ได้ให้ภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมายเซนต์เเทนได้หรือไม่
4.ถ้าไม่สามารถทำได้ต้องใช้เจ้าของที่ดินเท่านั้นมีวิธีใดเเก้ไขได้บ้างครับ(เจ้าของยินดีจดภารจำยอมให้ครับแต่ติดปัญหาข้างตนครับ)
โดย จุมพล IP: xxx [ 2016-08-29 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. ได้
2. ได้ แต่ต้องมีพยานเซ็นต์รับรองการพิมพ์นิ้วมือสองคนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. ไม่ได้
4. วิธีที่ทำได้คือ ติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินที่จะจดทะเบียนภาระจำยอมและขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ให้ไปเป็นพยานในการพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจ (ไปเป็นพยานหมายความว่า ให้เจ้าหน้าที่ที่ดินที่จะเป็นผู้จดทะเบียนภาระจำยอมไปดูการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้มอบอำนาจเท่านั้น) ส่วนบุคคลที่จะเซ็นต์รับรองลายมือชื่อในการพิมพ์ลายนิ้วมือยังเป็นเช่นเดิม เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่เซ็นเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจให้ หรือ
อีกทางหนึ่งเจ้าหน้าที่อาจจะแจ้งว่า ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้พิทักษ์ (ผู้จัดการทรัพย์สิน) แทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ (ผู้ที่เป็นอัมพาต) แล้วนำคำสั่งศาลมาแสดงเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม แต่การเชิญเจ้าหน้าที่ที่ดินตามวิธีแรกน่าจะง่ายที่สุด
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-08-30 ] ตอบ 1412
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.