สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 70 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4754 คน
26470 คน
2737998 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การครอบครองพื้นที่ส่วนกลางเกิน 10 ปี
เจ้าของร่วมสร้างประตูล้ำเข้าพื้นที่ส่วนกลางมาเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครทักท้วง ถามว่า ส่วนที่รุกล้ำเข้ามาจะฟ้องร้องได้หรือไม่ สำหรับอาคารชุด จะเข้าข่ายเจ้าของร่วมครอบครองโดยปรปักษ์ได้หรือไม่
โดย ประพันธ์ คงบุญ (ip134.196.84.236) อี-เมล์ ประพันธ์  คงบุญ (ip134.196.84.236) เบอร์โทรศัพท์. ประพันธ์ คงบุญ IP: xxx [ 2017-05-31 ]

คำตอบจาก Webmaster
ตามที่ถาม ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าของร่วมสร้างประตูฃ้ำเข้าพื้นที่ส่วนกลางเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จะเข้าข่ายเจ้าขจงร่วมครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่

โดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่า การจะได้สิทธิครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น จะต้องเป็นการครอบครอง "อสังหาริมทรัพย์" ของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามบทบัญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว

เมื่อการสร้างประตูล้ำเข้ามาในพื้นที่ส่วนกลาง ไม่ใช่ "อสังหาริมทรัพย์" (คือครองครองที่ดิน) แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิตามกฎหมาย เนื่องจากไม่เข้าข้อกฎหมายดังกล่าว

เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายอาคารชุด เมื่อเจ้าของโครงการจะจดทะเบียนอาคารชุดจะต้องนำโฉนดที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคารชุดไปส่งมอบให้เจ้าหน้าที่เสียก่อน หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า"โฉนดห้องชุด") แทนโฉนดที่ดิน

เมื่อจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวตามอัตราส่วนที่แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง รวมทั้งอาคารชุดที่ปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวด้วย ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางเช่นกัน เมื่อเป็นทรัพย์ส่วนกลางแล้ว แม้เจ้าของร่วมจะสร้างประตูล้ำเข้าพื้นที่ส่วนกลาง แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในการครอบครองปรปักษ์
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-06-03 ] ตอบ 1493
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.