สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 68 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2533 คน
29324 คน
2740852 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดี แต่นิติบุคคลไม่ยอกออกใบปลอดหนี้ให้

ได้ประมูลห้องชุดจากกรมบังคับคดี ห้องนี้มีหนี้ค้างตามมีที่นิติบุคคลแจ้งไว้คือค่าส่วนกลางที่ค้างมาสิบกว่าปี เบี้ยปรับรวมเป็นเงินประมาณสามล้านบาท (ราคาห้องประมาณหนึ่งล้านบาท) ตอนนี้ได้วางเงินในส่วนค่าส่วนกลางไปแล้ว ส่วนดอกเบี้ยนั้นมากเกินไป รับไม่ได้ อยากสอบถามว่าในกรณีเช่นนี้เคยมีคดีที่ขึ้นศาล และมีผลการตัดสินไปแล้วหรือไม่คะ ว่าผู้ทรัพย์จะต้องชำระเงินส่วงใดบ้าง นิติบุคคลจึงต้องออกใบปลอดหนี้ให้ เพราะตอนนี้ทางนั้นไม่ยอมออกให้ค่ะ ต้องการข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจค่ะ เพราะถ้าจะสู้ต่อจะต้องไปชำระค่าทรัพย์กับกรมบังคับคดีก่อน

โดย จน อี-เมล์ จน เบอร์โทรศัพท์. จน IP: xxx [ 2009-11-21 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีดังกล่าวยังไม่เคยมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาพิพากษาไว้เป็นบนรรทัดฐาน แต่พอจะนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ดังนี้
1. เงินค่าส่วนกลางนั้นเป็นเงินประเภทใด ซึ่งตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปนั้น ค่าส่วนกลางอาจจะเข้าใจว่าหมายถึง
1.1 เงินที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากร (มาตรา 18 วรรคแรก) หรือออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แบละค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าสของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางหรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด (มาตรา 18 วรรคสอง)
1.2 เงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระล่วงหน้า หรือเงินทุนเมื่อเริ่มต้นกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อบังคับหรือตามมติของที่ประชุมใหญ่ หรือเงินอื่นเพื่อปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไขซึ่งที่ประชุมใหญ่กำหนด (ตามมาตรา 40)
เงินค่าใช้จ่ายตามข้อนี้ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่สามารถนำมาเป็นเหตุเพื่อปฏิเสธการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามมาตรา 29 วรรค 3 ได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 หากมีการค้างชำระต้องใช้สิทธิืทางศาล
2. เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 (ข้อ 1.1 ข้างต้น) นั้น มีข้อพิจารณาดังนี้
2.1 หากห้องชุดที่คุณประมูลซื้อ ได้จดทะเบียนอาคารชุดก่อนพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 ใช้บังคับ คือ ก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ค่าปรับหรือดอกเบี้ยอันเกิดจากการค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 187 ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ดังนั้น ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่สามารถนำยอดค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาคิดรวมเป็นยอดค้างชำระค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 เพื่อปฏิเสวธการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามมาตร 29 ได้
2.2 หากห้องชุดที่ประมูลซื้อ ได้จดทะเบียนอาคารชุดหลังพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับที่ 4 ใช้บังคับ คือ หลังวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 แม้ข้อบังคับจะให้เรียกเก็บเบี้ยปรับตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อบังคับก็ตาม แม้จะสูงกว่าร้อยละ 12 ต่อปี ่ก็ไม่สามารถเรียกเก็บได้เนื่องจากขัดกับมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับที่ 4 หากจะเรียกเก็บได้ก็จะเรียกเก็บเงินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปีเท่านั้นแต่ทั้งนี้จะต้องระบุไว้ในข้อบังคับด้วย จึงจะเรียกเก็บได้ เงินเพิ่มดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ซึ่งสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มารวมเป็นยอดค่าใช้จ่ายค้างชำระตามมาตรา 18 เพื่อปฏิเสธการออกใบปลอดหนี้ได้

กรณีของคุณจึงต้องพิจารณาข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดเพิ่มเติมและรายละเอียดหนี้ค้างจ่ายที่นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งไปที่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่ามีค่าใช้จ่ายประเภทใดบ้าง มีเงินค่าส่วนกลางประเภทใด มีเบี้ยปรับเท่าใด จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

วัชรพล
085-1109377
โดยคุณ วัชรพล ส่งเมล์ถึง วัชรพล [ 2009-11-22 ] ตอบ 166
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.