สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 52 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2517 คน
29308 คน
2740836 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ซื้อบ้านขายทอดตลาด

ชื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี  แต่มีเจ้าของเดิมอาศัยอยุ่ในทรัพย์  ทราบมาว่าต้องทำการยื่นฟ้องขับไล่ อยากทราบกระบวนการพิจารณาของศาล และระยะเวลาการฟ้อง ระยะเวลาที่ศาลจะออกหมายขับไล่  แล้วหากผู้อาศัยเดิมไม่ออกสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่
และหากย้ายออกแต่ทำลายทรัพย์สินจะเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

โดย mona อี-เมล์ mona เบอร์โทรศัพท์. mona IP: xxx [ 2009-12-05 ]

คำตอบจาก Webmaster

กรณ๊ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี แต่มีเจ้าของเดิมอยู่ในทรัพย์ สามารถดำเนินการได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 กรณี ดังนี้


1. ผู้ซื้อมีสิทธิยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยยื่นต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ขอให้ออกคำบังคับให้บุคคลเหล่านั้นออกไปภายในเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยให้ถือว่า ผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีขอให้ขับไล่มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขับไล่ขึ้นมาใหม่ (มาตรา 309 ตรีแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)


วิธีนี้มีข้อดี คือ ใช้เวลาบังคับคดีขับไล่ออกไปจากที่ดินเร็วกว่าการฟ้องคดีใหม่  ซึ่งหากฟ้องใหม่อาจต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา หากรวมถึงขั้นบังคับคดีให้ออกไปจากที่ดินอาจใช้เวลาถึงปี 6 เดือน จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณคดีของศาลที่จะรับฟ้อง เนื่องจากปัจจุบันศาลใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีต่อเนื่อง แต่มีข้อเสียคือ เรียกค่าเสียหายไม่ได้


2. ฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ ข้อดีคือเรียกค่าเสียหายได้ ข้อเสียคือ ใช้เวลานานดังที่เรียนให้ทราบข้างต้น


โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรใช้วิธีการที่ 1 เพราะหากใช้วิธีการที่ 2 เรียกค่าเสียหายได้ แต่หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินให้ยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระค่าเสียหาย ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากคำพิพากษาเท่านั้น แต่ผู้อยู่อาศัยเดิมได้ประโยชน์เพราะอยู่ในที่ดินได้นานกว่าวิธีที่ 1


กรณีทำลายทรัพย์สิน เรามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้

โดยคุณ วัชรพล ส่งเมล์ถึง วัชรพล [ 2009-12-06 ] ตอบ 175
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.