สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 62 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2527 คน
29318 คน
2740846 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การมอบอำนาจ

ผมกับน้องกู้ซื้อบ้านด้วยกันผ่านแบงค์กสิกรไทย จะรีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่น แต่น้องสาวไม่สามารถมาทำธุรกรรมได้ ขอเรียนสอบถามดังนี้ครับ


1.หนังสือมอบอำนาจต้องทำ 2 ชุดหรือเปล่าครับ ชุดหนึ่งระบุไถ่ถอนจากจำนอง อีกชุดหนึ่งระบุจดจำนองกรรมสิทธิ์


2.เอกสารมอบอำนาจไถ่ถอนจากจำนองจะต้องให้แบงค์กสิกรไทยตรวจสอบยืนยันหรือเปล่า เกรงว่าวันทำธุรกรรมแบงค์กสิกรจะบอกว่าหนังสือมอบอำนาจใช้ไม่ได้ ซึ่งผมเคยเข้าไปปรึกษาฝ่ายสินเชื่อกสิกรไทยแล้วให้คำตอบไม่ชัดเจนเลยสงสัยต้องไปคุยกับฝ่ายกฎหมายกสิกรไทย


ขอบคุณมากครับสำหรับการให้คำปรึกษา

โดย เอก อี-เมล์ เอก เบอร์โทรศัพท์. เอก IP: xxx [ 2010-01-30 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. หนังสือมอบอำนาจของน้องต้องทำ 2 ฉบับ ๆ แรก ไถ่ถอนจากจำนอง ฉบับที่ 2 จดทะเบียนจำนองกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ หากน้องมอบให้คุณ จะต้องเพิ่มเติมถ้อยคำต่อท้ายจากตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจใน web ของกรมที่ดินด้วยว่า "ยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเข้ากระทำการในนามของตนเอง และ/หรือเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย"


2. ไม่จำเป็นเพราะปกติหากคุณไม่จดทะเบียนจำนองกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ต่อไปอีก ธนาคารฯ จะสลักหลังสัญญาจำนองว่า ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองเรียบร้อยแล้ว ยินยอมให้ไถ่ถอนจำนองได้  คุณก็ถือสัญญาดังกล่าวมาจดทะเบียนไถ่ถอนแต่ฝ่ายเดียวได้โดยที่ธนาคารกสิกรไทยไม่ต้องมาด้วย แต่ที่ต้องมาเพราะจะต้องมารับเงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่จะเป็นผู้รับจำนองต่อ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีไถ่ถอนจากจำนอง หรือไถ่ถอนจากการขายฝากซึ่งที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว เมื่อผู้รับจำนองหรือผู้รับซื้อฝากได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือว่าได้มีการไถ่ถอนแล้ว ให้ผู้มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนไถ่ถอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้


เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจเป็นการถูกต้อง ก็ให้จดทะเบียนในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ปรากฏการไถ่ถอนนั้น"


ข้อสำคัญควรใช้ถ้อยคำในหนังสือมอบอำนาจให้ถูกต้องตามตัวอย่างในหนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-01-30 ] ตอบ 208
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.