สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 54 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2519 คน
29310 คน
2740838 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ข้อสงสัยเรื่องการจัดพื้นที่สำหรับสนง.นิติบุคคลบ้านจัดสรร

ข้อ 1.ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินรายใดมีความประสงค์ จะให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ผู้จัดสรรที่ดิน จะต้องจัดพื้นที่ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

               (1) ที่ดินเปล่าต้องจัดให้มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 8.00 เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร เมตร เว้นแต่ข้อบัญญัติของท้องถิ่นใดกำหนดไว้สูงกว่า ก็ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้น โดยตำแหน่งที่ดินให้มีเขตติดต่อกับสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรหรือการสันทนาการ ที่จอดรถส่วนกลาง ศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน ห้องอาหารสำหรับพนักงาน สถานพยาบาลเบื้องต้นและหรือสาธารณูโภค อื่นที่ใช้ประโยชน์ลักษณะเดียวกัน
               (2) ที่ดินพร้อมอาคาร ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 16 ตารางวา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร
               (3) พื้นที่ส่วนอื่นซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว เช่น สำนักงาน สโมสร เป็นต้น ต้องจัดให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นในอาคารดังกล่าวไม่น้อยกว่า 64 ตารางเมตร อาคารดังกล่าวจะต้องอยู่บนที่ดิน แปลงบริการสาธารณะในโครงการจัดสรรที่ดินและจะเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นไม่ได้ ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่าย สาธารณูปโภคสิ้นเปลือง


คำถามที่ 1 คำว่า "พื้นที่ส่วนอื่น"ในแบบที่ (3) ต่างจากที่ดินแบบที่ (2) อย่างไรคะ


คำถามที่ 2 ในกรณีที่เลือกแบบที่ (2) ตัวอาคารต้องมีพื้นที่เท่าใด ต้องไม่น้อยกว่า 64 ตร.ม.ตามที่ (3) หรือไม่


คำถามที่ 3 ถ้าอาคารต้องเท่ากับ 64 ตร.ม. แปลว่า ขนาดที่ดินตามแบบที่ (2) สร้างได้เต็มพื้นที่ดินพอดี (16 ตร.ว=64 ตร.ม.) เป็นเช่นนั้นขออนุญาตได้ใช่หรือไม่  ไม่ติดกฎหมายระยะร่นอาคารหรืออย่างไร (ที่ดินที่เตรียมไว้ให้สนง.นิติฯ ติดส่วนหย่อมและถนนภายในโครงการ ไม่มีด้านใดติดรั้วบ้านสมาชิก)


คำถามที่ 4 ขอสอบถามเพื่อความเข้าใจว่า


ในระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้ง นิติฯหมู่บ้าน ทางโครงการดูแลสาธารณูปโภคอยู่ ส่วนค่าบริการสาธารณะมีการเก็บล่วงหน้ารายปีตอนทำสัญญา ตัวอย่างเช่น อาจเป็น 10 บาท/ตร.ว/เดือน แต่เมื่อจัดตั้งนิติฯ และโอนสาธารณูปโภคให้แล้ว ค่าใช้จ่ายก็จะรวมกันทั้งค่าดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ซึ่งรวมถึงค่าบริหาร-ค่าใช้จ่ายสนง.นิติฯ ซึ่งโครงการสร้างไว้ให้ อย่างนี้ก็มีผลทำให้ค่าส่วนกลางที่จัดเก็บไว้อัตราเดิมไม่พอเพียงอย่างแน่นอน เป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่จะต้องไปสรุปว่าจะเป็นอัตราเท่าใด


อย่างนี้เข้าใจถูกต้องหรือไม่



 

โดย ศุภดา อี-เมล์ ศุภดา เบอร์โทรศัพท์. ศุภดา IP: xxx [ 2010-08-15 ]

คำตอบจาก Webmaster

คำตอบ 1 พื้นที่ส่วนอื่นในแบบที่ 3 หมายความว่า โครงการได้สร้างสโมสรหรือคลับเฮ้าส์ให้กับหมู่บ้าน หากจะจัดพื้นที่ในสโมสรให้เป็นสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วละก็จะต้องมีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 64 ตารางเมตร แต่หากจะกันพื้นที่เป็นที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยโครงการก่อสร้างสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ด้วย ก็จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 16 ตารางวาและมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร


คำตอบ 2 หากเลือกแบบที่ 2 ตัวอาคารสำนักงานฯ ไม่จำต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 64 ตารางเมตรเหมือนแบบที่ 3 แต่อาคารนั้นจะต้องปลูกสร้างบนเนื้อที่ 16 ตารางวาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งผมเห็นว่าเนื้อที่จะน้อยกว่า 64 ตารางเมตร เพราะในการขออนุญาตก่อสร้างจะต้องมีระยะ set back จากแนวเขตที่ดินด้วย


คำถามที่ 3 ตอบในคำถามที่ 2 แล้ว


คำตอบที่ 4 ใช่ เพราะตอนขาย ทางโครงการก็อยากเรียกเก็บค่าส่วนกลางต่ำ ๆ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อ กรณีดังกล่าวคณะกรรมการฯ จะต้องตรวจสอบรายจ่ายและกำหนดค่าส่วนกลางใหม่ หลังจากนั้นจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ลูกบ้านเพื่ออนุมัติอัตราค่าส่วนกลางอัตราใหม่อีกครั้งหนึ่ง

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-08-16 ] ตอบ 336
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.