สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 52 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2517 คน
29308 คน
2740836 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ขอความกรุณาถามต่อจากคำถามที่ 326 และ 329 ค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากที่ได้ตอบคำถามลำดับที่ 326 แต่ยังมีข้อสงสัยที่ขอรบกวนถามต่อค่ะ


คำตอบจากลำดับที่ 326


๑. ในการจัดทำแผนผังโครงการจัดสรรจะทำควบคู่ไปกับการขอออกแบบปักเสาพาดสายไฟฟ้า ซึ่งในกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการฯ ต้องผ่านการตรวจสอบแล้ว ในขั้นตอนการตรวจสอบแผนผังโครงการ หากเป็นการขออนุญาตตามกฎหมายจัดสรรเก่า (ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๖) สามารถติดตั้งได้ แต่หากขออนุญาตจัดสรรใหม่ (พรบ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓) จะไม่ผ่านการพิจารณา


คำอธิบายเพิ่มค่ะ


เสาไฟฟ้าที่พาดผ่านไม่ได้เป็นเสาที่ปักใหม่ที่ส่งไฟเข้าหมู่บ้าน แต่เป็นเสาขนาดใหญ่ที่เป็นเสาเหล็กส่งไฟฟ้าแรงสูงเข้าใปโรงไฟฟ้าในเมือง โดยฐานของเสาส่งไฟฟ้านี้อยู่กลางที่สวนสาธารณะพอดี โดยมีป้ายเดือนอันตรายและห้ามปลูกต้นไม้ใต้เสาไฟฟ้านี้ด้วย สมาชิกลูกบ้านไม่มีใครกล้าไปใช้บริการสวนที่โครงการจัดไว้นี้ได้ เนื่องจากกลัวอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงด้านบน พื้นที่สวนประมาณ 200 กว่า ตรว.นิดหน่อย จึงไม่มีพื้นที่เหลือพอที่จะใช้ด้วยความปลอดภัยได้ เพราะตัวฐานเสาไฟฟ้าก็เกือบเต็มพื้นที่สวนทั้งหมด


สำนักงานที่ดินที่ ปทุมธานี จดทะเบียนจัดสรรเมื่อปี 2548 ซึ่งน่าจะใช้ พรบ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว แบบนี้คิดว่าคณะกรรมการผ่านโดยไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ และความผิดนี่เป็นของโครงการหรือคณะกรรมการหากมีการฟ้องร้องต่อศาล


๒. ควรทำเรื่องปรึกษาไปยังการไฟฟ้าถึงความปลอดภัยและจัดหาที่ตั้งที่เหมาะสม รวมถึงประสานงานกับเจ้าของโครงการในการขอย้ายที่ตั้ง


การไฟฟ้าคงไม่เกี่ยวข้องหรอกค่ะ เพราะเสาไฟฟ้านี้เป็นเสาขนาดใหญ่ที่มีมาก่อนสร้างหมู่บ้านแล้ว และก็เป็นเสาที่ส่งไฟฟ้าแรงสูงเข้าโรงไฟฟ้า ไม่ได้เป็นเสาเล็ก ๆ ที่สามารถย้ายได้ ตอนนี้ลูกบ้านได้เจรจาขอให้โครงการจัดสรรพื้นที่สวนสาธารณะให้ใหม่ โครงการยินยอมชดเชยให้แต่ได้พื้นที่ประมาณ 100 ตรว. และไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ให้เป็นของหมู่บ้านด้วย อนาคตโครงการสามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ จึงทำให้การเจรจาไม่ยุติทั้งสองฝ่าย


 


จึงอยากเรียนถามว่าเราควรดำเนินการฟ้องต่อศาลผู้บริโภคหรือเปล่าคะ แล้วกรณีเช่นนี้ถ้าสู้กันต่อไปจะลงไปถึงคณะกรรมการจัดสรรด้วยหรือเปล่า เพราคิดว่าละเลยหน้าทีปล่อยให้มีการจดทะเบียนที่ไม่ถูกต้องในส่วนของสวนสาธารณะที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนะค่ะ


ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ และขอให้ผลบุญที่อาจารย์เสียสละตอบคำถามต่อผู้ที่มีความเดือดร้อนจงตอบแทนอาจารย์และครอบครัวทุกท่านค่ะ 

โดย ทักษิณา พยุงวัฒนา อี-เมล์ ทักษิณา พยุงวัฒนา เบอร์โทรศัพท์. ทักษิณา พยุงวัฒนา IP: xxx [ 2010-08-17 ]

คำตอบจาก Webmaster

คงจะต้องขอให้คุณทักษฺณาไปขอตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในแฟ้มคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินของโครงการดังกล่าวว่า ในโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินได้นำพื้นที่ใต้สายไฟฟ้ามาคำนวณเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ 5% หรือไม่ ถ้าไม่ได้นำพื้นที่บริเวณที่เป็นฐานของเสาไฟฟ้ามาคำนวณรวมเป็นพื้นที่สวนสาธารณะก็สามารถทำได้


การจะดำเนินคดีในศาลผู้บริโภคควรจะต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเจ้าของโครงการได้ดำเนินการใดที่กระทบสิทธิของผู้บริโภคหรือไม่ หากเจ้าของโครงการได้รับอนุญาตจัดสรรโดยถูกต้องจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานีตามกฎหมายแล้ว ก็จะต้องล้วงลึกเข้าไปพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินฯ ได้ใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติแผนผังโครงการโดยชอบหรือไม่ ซึ่งผู้ที่จะให้ข้อมูลและเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ก็คงจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดินผู้เสนอเรื่องนี้ให้คณะกรรมการฯ พิจารณา


ในเรื่องนี้เห็นว่า ควรไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและอาจร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อเสนอเรื่องให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความช่วยเหลือปัดเป่าความเดือดร้อน  น่าจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-08-18 ] ตอบ 343
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.