สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 51 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2516 คน
29307 คน
2740835 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การโอนลอยที่ดินที่มีผู้ที่มีส่วนได้เสียร่วมอยู่แต่ไม่รับทราบว่าโอนลอยสามารถกระทำได้หรือไม่

กรณีที่นาย ก ซื้อที่ดินกับเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งในราคา๒,๐๐๐บาทเมื่อประมาณปี๒๕๒๓และร้างบ้านอยู่ในที่ดินแปลงนั้นเป็นต้นมาแต่ยังไม่ทันโอน


ต่อมาในปี๒๕๓๘เจ้าของที่ดินนำใบแสดงกรรมสิทธิไปจำนองในราคา  ๓๐,๐๐๐โดยที่นาย  ก ไม่ทราบต่อมาในตุลาคม ปี ๒๕๕๓ เจ้าของที่ดินคนใหม่(ผู้รับจำนอง)มาแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินในแปลงดังกล่าว โดยแจ้งให้ทราบว่าที่ดินแปลงนี้เจ้าของเดิมดอนลอยให้แล้วและให้นาย ก จ่ายค่าดอกเบี้ยแทน หนึ่งแสนบาท หากกไม่ยอมจ่ายให้ย้ายออกทันที


ถามว่า สามารถกรโอนลอยที่ดินนี้ได้หรือไม่และนาย ก ยังมีสิทธิในที่ดินส่วนนั้นหรือไม่  นาย ก ต้องดำเนินการอย่างไร และอายุการถือครองที่ดินมีกี่ปี


ขอบคุณมากๆที่กรุณาตอบคำถามนี้


จากผู้รู้น้อย

โดย ต้นสน IP: xxx [ 2010-10-04 ]

คำตอบจาก Webmaster

การที่นาย ก. ซื้อบ้านแต่ยังไม่โอนและสร้างบ้านอยู่ในที่ดินนั้น การซื้อขายที่ดินเมื่อไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลเป็นการซื้อที่ดินตามกฎหมาย


กรณีโอนลอย คือ เซ็นใบมอบอำนาจลอยไว้เฉยๆ ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปเป็นของผู้รับจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม (ผู้จำนอง) กรณีนี้ควรตรวจสอบโฉนดคู่ฉบับที่เก็บไว้ที่กรมที่ดินว่าปัจจุบันใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์  ผู้รับจำนองหรือเจ้าของที่ดินเดิม หากเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม ไม่มีเหตุที่นาย ก. ต้องจ่ายดอกเบี้ยแทน หากไม่จ่ายต้องออกจากที่ดิน


การโอนลอย ชาวบ้านชอบทำกันเสมอ คือ เซ็นหนังสือมอบอำนาจไว้เฉยๆ โดยไม่กรอกข้อความและมอบโฉนดพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้องให้ผู้รับจำนองยึดถือไว้ ซึ่งหากผู้รับจำนองไม่ซื่อ นำที่ดินไปขายเลยก็เคยมีมาแล้ว การโอนลอยไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย หากผู้รับโอนลอย (รับโฉนด,หนังสือมอบอำนาจฯลฯ) ไม่นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


แม้สัญญาซื้อขายระหว่างนาย ก.กับเจ้าของที่ดินเดิมจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่การที่นาย ก. ได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินตั้งแต่ปี 2523  หากเป็นการครอบครองโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันสิบปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว แต่จะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้นาย ก.ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เพื่อนำคำสั่งศาลไปแก้ไขทางทะเบียน มิใช่จะได้มาโดยอัตโนมัติเมื่อครอบครองติดต่อกันครบสิบปี

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-10-05 ] ตอบ 383
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.