สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 63 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2528 คน
29319 คน
2740847 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การครอบครองปรปักษ์

รบกวนปรึกษาปัญหาเรื่องที่ดินที่ซื้อไว้ดังนี้ค่ะ


ดิฉันได้ซื้อบ้านจัดสรรพร้อมที่ดิน 1 แปลง ในเวลาเดียวกันได้ซื้อที่ดินเปล่าแปลงที่ติดกันกับบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่ แปลงที่มีบ้านไม่มีปัญหาอะไรโอนเรียบร้อยแล้ว แต่แปลงที่เป็นที่เปล่ายังค้างคาเรื่องอยู่ยังไม่โอน เนื่องจากว่าบริษัทฯ ที่ทำการจัดสรรดังกล่าวได้ล้มหายไปไหนไม่รู้ไม่สามารถติดต่อได้


ดิฉันมีสัญญาการซื้อขายที่เปล่าแปลงดังกล่าวนี้แล้วได้ทำการผ่อนชำระเงินดาวน์ไปแล้วกับบริษัทฯ ผู้จัดสรรดังกล่าว จำนวน 12 งวด สัญญาฉบับบนี้ทำขึ้นเมื่อ วันที่ 5 ส.ค.2536 เป็นเวลา 17 ปีแล้วนับถึงวันนี้


พื้นที่ทั้ง 2 แปลงดิฉันทำรั้วล้อมรวมเป็นพื้นเดียวกัน ทุกคนที่มองเห็นก็ทราบว่าเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเรา ดิฉันได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ทันที่ที่เข่าโอนให้เฉพาะแปลงที่มีบ้านก่อน แต่หลังจากนั้นบริษัทฯ เขาก็หายไปไม่สามารถติดต่อได้


ดิฉันจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้จบเรื่องแล้วได้โฉนดเป็นของดิฉัน เพราะนานถึง 17 ปี แล้ว นับจากสัญญาและเข้าอยู่


ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

โดย สมจิตต์ อี-เมล์ สมจิตต์ เบอร์โทรศัพท์. สมจิตต์ IP: xxx [ 2010-10-07 ]

คำตอบจาก Webmaster

ช่วย scan สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวส่งมาที่ e-mail ผม watcharaponw@gmail.com เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นอีกครั้ง แม้ว่าคุณจะได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ซึ่งอาจจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคุณได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้ก็ตาม แต่ผลที่ตามมาแตกต่างกัน จึงขอให้การร้องครอบครองปรปักษ์เป็นทางออกสุดท้าย ซึ่งก่อนที่จะเดินเส้นทางนั้น ผมขออ่านสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินก่อนจะดีกว่าครับ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-10-07 ] ตอบ 387
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.