สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 71 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2536 คน
29327 คน
2740855 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การแจ้งชื่อกรรมการนิติฯ กับกรมที่ดิน กรณีผู้จัดการ(ชั่วคราว)

กรณี ที่มีมติแต่งตั้งกรรมการนิติฯ ทดแทนคนเก่าที่ลาออกไป


สมมติว่ามีมติที่ประชุมเจ้าของร่วม วันที่ 1 มกราคม ให้แต่งตั้งกรรมการ เนื่องจากกรรมการเก่าลาออกหลายท่าน


ผู้จัดการนิติฯ ก็ลาออกด้วย แต่ไม่สามารถหาคนมาดำรงตำแหน่งในวันที่ประชุมนั้นได้


ทีนี้ก็เข้าข่ายที่ว่า คณะกรรมการฯ ต้องจัด 1 ในคณะกรรมการฯ มาทำหน้าที่ ซึ่งจะแต่งตั้งกันได้ ก็ต้องมีประชุมคณะกรรมการฯ ขึ้นมาก่อน


ประชุมกรรมการฯ ชึดใหม่ จัดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม ได้กรรมการฯ 1 ท่านมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการนิติฯ


คำถาม


1. ผู้จัดการนิติฯ มีภาระต้องนำชื่อของกรรมการฯที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ไปจดทะเบียนกับกรมที่ดิน ตามกฏหมายว่าภายใน 30 วันจากวันที่มีการประชุมเจ้าของร่วม ซึ่งก็น่าจะหมายถึงภายใน 31 มกราคม ใช่หรือไม่ กรณีที่เลยจากกำหนดดังกล่าวไปแล้ว จะอ้างถึงกรณีที่ผู้จัดการนิติฯ ได้รับการแต่งตั้งขึ้นวันที่ 15 มกราคม เพื่อขอผ่อนผันได้หรือไม่ หรือไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเสียค่าปรับต่อกรมที่ดิน


2. ผู้จัดการนิติฯ (ชั่วคราว) ที่เป็นตัวแทนกรรมการฯ สามารถได้รับเงินเดือนในฐานะผู้จัดการนิติฯ หรือไม่? และยังมีสิทธิ์ออกเสียงในฐานะกรรมการฯ อยู่หรือไม่ครับ

โดย takai IP: xxx [ 2010-10-15 ]

คำตอบจาก Webmaster

กรณีตามอุทาหรณ์ ที่ประชุมใหญ่มีมติแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการก็ลาออกด้วย แต่ไม่สามารถหาคนมาดำรงตำแหน่งในวันที่ประชุมได้ กรณีดังกล่าวจะต้องจัดประชุมใหญ่เจ้าของร่วมใหม่เพื่อลงมติแต่งตั้งผู้จัดการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด


กรณีที่คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกินเจ็ดวันตามมาตรา 38 (2) นั้น หมายความว่า จะต้องมีตัวผู้จัดการที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งด้วยคะแนนเสียงดังกล่าวข้างต้นโดยถูกต้องตามกฎหมายอาคารชุดเสียก่อน กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งแต่อย่างใด  คณะกรรมการจึงไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการได้  หากเป็นดังกรณีเช่นที่คุณถาม ก็จะกลายเป็นว่า คณะกรรมการฯ แต่งตั้งผู้จัดการเสียเอง มิใช่แต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย มติของคณะกรรมการฯ ที่แต่งตั้งกรรมการขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการก็จะเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามไปด้วย


ตามที่มาตรา 37 บัญญัติว่า "การแต่งตั้งกรรมการ ให้ผู้จัดการนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ"  ผู้จัดการที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องเป็นผู้จัดการที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมแต่งตั้งเท่านั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้กรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากบทนิยามของคำว่า "ผู้จัดการ" ตามมาตรา 4 ซึ่งหมายถึง ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มิได้หมายความรวมไปถึงกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกินเจ็ดวันแต่อย่างใด


คำตอบทั้งหมดข้างต้นเป็นคำตอบของข้อ 1.


2. ผู้จัดการนิติฯ (ชั่วคราว) ที่เป็นตัวแทนกรรมการ จะสามารถรับเงินได้ในฐานะผู้จัดการได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจะเขียนไว้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติในเรื่องดังกล่าวไว้แต่อย่างใด และยังคงมีสิทธิออกเสียงในฐานะกรรมการ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามเอาไว้ว่า หากกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ให้สิ้นสิทธิการเป็นกรรมการด้วย ดังนั้น สถานะของท่านนั้นยังเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดอยู่เช่นเดิม เพียงแต่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเพิ่มอีกสถานะหนึ่งเท่านั้น


 


 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2010-10-15 ] ตอบ 393
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.