สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 57 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2522 คน
29313 คน
2740841 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการนิติฯ

มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกผู้จัดการ และคณะกรรมการฯ เพราะครบวาระ  ประชุมเมื่อวันที่ 12 กย.53 มีผู้เข้าประชุม 34 % เป็นเสียงของเจ้าของโครงการ 32 % ( เจ้าของโครงการค้างชำระค่าส่วนกลาง ประมาณ 12 เดือน ) วันที่ 19 ตค. 2553 เจ้าของโครงการได้นำเงินมาชำระค่าส่วนกลางที่ค้างทั้งหมด วันที่ 20 ตค. 2553 เจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนการตั้งผู้จัดการนิติ ฯ   อยากทราบว่าการชำระเงินค่าส่วนกลางหลังวันการประชุมลงมติตั้งผู้จัดการทำได้หรือไม่  และคะแนนเสียงที่ไม่ได้จ่ายค่าส่วนกลางในวันลงมติใช้ได้หรือไม่


 


 

โดย มุนี แซ่อึ้ง IP: xxx [ 2011-01-04 ]

คำตอบจาก Webmaster

กฎหมายบัญญัติให้ "ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึง และต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองสำหรับห้องชุดดังกล่าวด้วย" (มาตรา 18 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551)


ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 ก็คือ เจ้าของโครงการนั่นเอง จึงอธิบายได้ว่า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรกซึ่งจะต้องจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดพร้อมกันไปด้วย (ตามมาตรา 31) เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว เจ้าของโครงการจึงตกอยู่ในฐานะเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งและจะต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสองด้วย


กรณีตามปัญหาผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกที่กฎหมายบังคับให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของโครงการได้จดทะเบียนไว้ตอนจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด จัดให้มีการประชุมใหญ่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (ตามมาตรา 42) เพื่อแต่งตั้งกรรมการและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับและผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้ การชำระค่าส่วนกลางหลังวันประชุมลงมติตั้งู้จัดการสามารถทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้าม แต่ผู้จัดการคนใหม่ ๆ ที่ที่ประชุมใหญ่มีมติแต่งตั้งชอบที่จะคิดเบี้ยปรับเอาจากเจ้าของโครงการที่ชำระค่าส่วนกลางล่าช้าตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ


เจ้าของร่วมที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 18/1 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551  ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า เจ้าของร่วมท่านนั้นค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จึงไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ หากมีการลงคะแนนเสียงไป เสียงนั้นย่อมเป็นอันเสีย ไม่สามารถนับเป็นคะแนนเสียงได้


 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-01-05 ] ตอบ 446
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.