สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 58 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2523 คน
29314 คน
2740842 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการนิติ ฯ

1.เป็นการประชุมใหญ่วิสามัญ เนื่องจาก คณะกรรมการฯ และผู้จัดการนิติ ฯ อยู่ครบวาะแล้ว จึงต้องเลือกใหม่ โดยเจ้าของโครงการใช้สิทธิ์ในฐานะเจ้าของร่วม ( ที่ผ่านมาเจ้าของโครงการมีการผ่อนจ่ายค่าส่วนกลางมาตลอด  และมาหยุดจ่ายเนื่องจากไม่มีเงิน ก่อนวันประชุม 12 เดือน )


2.เจ้าของโครงการนำโฉนดที่ดินที่ก่อสร้างอาคารชุด ไปจดจำนองไว้กับธนาคารตั้งแต่วันที่เริ่มต้นก่อสร้าง และเมื่อสร้างเสร็จได้ขอปลอดหนี้จากธนาคารเฉพาะห้องชุดที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ  ส่วนที่เหลือยังคงติดจำนองอยู่ที่ธนาคาร รวมถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมด และกำลังจะถูกยึดเนื่องจากธนาคาร(เจ้าหนี้)ยื่นฟ้องศาล


3.ในกรณีข้อ 2. เจ้าของร่วมสามารถฟ้องร้องเจ้าของโครงการข้อหาอะไรได้บ้าง เพราะถ้าให้ร้องเรียนสคบ.กลัวว่าจะสายเกินไป


4.ถ้าเจ้าของโครงการโอนทรัพย์สินส่วนกลาง รวมห้องชุดของตนเองให้ธนาคารเพื่อชำระหนี้ เจ้าของร่วมสามารถฟ้องร้องธนาคารขอทรัพย์สินส่วนกลางคืนได้หรือไม่


ขอบคุณมากครับที่กรุณาให้คำชี้แนะ ขอให้ปีใหม่นี้มีแต่สิ่งดี ๆ ตลอดปีนะครับ

โดย นายมุนนี แซ่อึ้ง IP: xxx [ 2011-01-05 ]

คำตอบจาก Webmaster

ปกติในการพัฒนาโครงการอาคารชุด เจ้าของโครงการจะนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองกับธนาคารฯ เพื่อกู้ยืมเงินมาชำระค่าที่ดินและก่อสร้างอาคารชุด ซึ่งในการจดทะเบียนอาคารชุด ธนาคารฯ ผู้รับจำนองจะต้องให้ความยินยอมให้นำที่ดินและอาคารไปจดทะเบียนอาคารขุดได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะรับจดทะเบียนอาคารชุดให้  พร้อมทั้งจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากห้องชุดแต่ละห้องชุด (มาตรา 7) ซึ่งเมื่อออกหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (โฉนดห้องชุด) เจ้าหน้าที่จะจดแจ้งการจำนองลงในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดทุกฉบับ พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากห้องชุดแต่ละห้องชุด โดยคำนวนจำนวนเงินดังกล่าวตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง (คิดตามพื้นที่ห้องชุดแต่ละห้องนั่นเอง)  ซึ่งเมื่อได้ออกโฉนดห้องชุดแล้ว ตามกฎหมายถือว่า ห้องชุดแต่ละห้องเป็นประกนหนี้จำนองเฉพาะส่วนที่ระบุไว้ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้น (มาตรา 22) จะเห็นว่า ธนาคารผู้รับจำนองจะระบุจำนวนหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ส่วนกลางไม่ได้ ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางให้กับธนาคารฯ จึงไม่สามารถกระทำได้ เพราะทรัพย์ส่วนกลางจะไม่มีการออกโฉนดห้องชุด สิ่งที่คุณเข้าใจว่า เป็นทรัพย์ส่วนกลางนั้น อาจจะเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล คือ ห้องชุดก็ได้เพราะหากโอนกรรมสิทธิ์ได้จะต้องมีการออกโฉนดห้องชุด จึงเห็นว่า  ควรตรวจสอบรายละเอียดในการจดทะเบียนอาคารชุดโครงการดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ที่ดินให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมาย การที่เจ้าของโครงการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของตนเองเพื่อชำระหนี้ให้ธนาคารฯ สามารถกระทำได้ แต่การโอนทรัพย์ส่วนกลางไปด้วยนั้นผมยังสงสัยอยู่เพราะตามกฎหมายตามที่อธิบายมาข้างต้น ไม่สามารถจะกระทำได้

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-01-06 ] ตอบ 447
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.