สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 68 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2533 คน
29324 คน
2740852 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยเกินที่กฏหมายกำหนด

1.  จดจำนองที่ดินเปล่า จำนวน 5 ไร่ ไว้กับนายทุนเป็นจำนวนเงิน  600,000 บาท แต่กู้ยืมจริง 450,000  บาท  นายทุนคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อปี  มีกำหนดสัญญา 1 ปี  จดจำนองประมาณ เดือน พฤศจิกายน  2552  ชำระเงินต้นบางส่วนไป 150,000  บาท คงเหลือยอดค้าง ณ ปัจจุบัน  300,000  บาท  ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้ว 3 เดือน


2.  จดจำนองบ้านชั้นเดียว พร้อมที่ดิน  ประมาณ 280  ตารางวา ไว้กับนายทุน เป็นจำนวนเงิน 600,000  บาท  แต่กู้ยืมจริง 500,000  บาท  นายทุนคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อปี  มีกำหนดสัญญา 1 ปี  จดจำนองวันที่ 8 เมษายน  2553  ยังไม่มีการชำระเงินต้น  และขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้ว 3 เดือน


คำถาม  (ทั้งสองฉบับเป็นนายทุนคนเดียวกัน)


1.  จากข้อที่1  นายทุนยังไม่ฟ้องบังคับคดี  แต่พยายามเกลี้ยกล่อมให้โอนที่ดินให้นายทุนเนื่องจากจะนำเข้าไปกู้ยืมธนาคารให้  แล้วให้เราผ่อนชำระกับทางธนาคาร  ไม่เช่นนนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฏหมาย  ถ้านายทุนฟ้องร้องเราสามารถต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยเกินที่กฏหมายกำหนดได้หรือไม่  แล้วดอกเบี้ยที่เราส่งไปจะนำมาหักล้างเป็นเงินต้นได้หรือเปล่า  ไม่มีเอกสารหรือลายลักษณ์อักษรในการส่งชำระดอกเบี้ย แต่มีการโอนเข้าธนาคารในบางครั้ง ในบัญชีชื่อของนายทุน  แล้วเราจะต่อสู้ได้อย่างไรถ้าเงินต้นจริงเหลือ 300,000 แต่ในสัญญาแนบท้ายโฉนดเป็นวงเงิน 600,000 บาท


2.  จากข้อที่ 2  ยังไม่ครบกำหนดสัญญา  นายทุนใช้ข้ออ้างเดิมคือเกลี้ยกล่อมให้โอนที่ดินให้นายทุนเพื่อจะนำเข้าไปกู้ยืมธนาคารพร้อมกันกับโฉนดจำนองใบแรก  ส่วนการชำระดอกเบี้ยก็ทำเช่นเดียวกันกับข้อที่ 1  แต่จำนวนเงินต้นจำนองอยู่ที่  500,000  บาท  และในสัญญาในโฉนดเป็นวงเงิน  600,000  บาท    ถ้าเราไม่ยอมที่จะโอนที่ดินให้  เรามีวิธีการที่จะต่อสู้อย่างไรเพื่อให้เหลือเงินต้นชำระน้อยที่สุด  ทั้งสองกรณีนายทุนมีกำหนดให้ภายในสิ้นเดือน ก.พ 54 นี้


โปรดแนะนำหน่อยนะค่ะไม่รู้จะทำอย่างไรดี  มืดแปดด้านแล้วค่ะ

โดย เหมยเหมย อี-เมล์ เหมยเหมย เบอร์โทรศัพท์. เหมยเหมย IP: xxx [ 2011-02-06 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. กรณีนายทุนฟ้องสามารถยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดขึ้นต่อสู้ได้ ซึ่งมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบรี้ยที่จ่ายไปแล้ว ไม่สามารถเรียกคืนได้เพราะเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจทั้งที่ตามกฎหมายมีสิทธิที่จะไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นลาภมิควรได้แก่นายทุนผู้ให้กู้ การกู้ยืมเงินโดยระบุจำนวนเงินมากกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้สามารถต่อสู้ได้ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์


2. วิธีการที่จะต่อสู้ให้เหลือเงินต้นน้อยที่สุดนั้นไม่มี เพราะดอกเบี้ยที่ชำระไปตกเป็นลาภมิควรได้แก่นายทุน


 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-02-08 ] ตอบ 470
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.