สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 45 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2510 คน
29301 คน
2740829 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ในกรณีทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ใช่สัญญาซื้อขายที่จะขอจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินทำได้หรือไม่

สวัสดีค่ะ


ดิฉันกำลังจะซื้อที่ดินแห่งหนึ่งในเร็วๆ นี้ ซึ่งมีราคาสูงมาก ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงต้องการทำสัญญาและขอจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเป็นการปลอดภัย  โดยที่ดินนี้อยู่ในช่วงทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดใหม่อยู่ แต่เจ้าของที่ดินต้องการทำสัญญาจะซื้อจะขายกับดิฉันก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าดิฉันตกลงซื้อที่ดินนี้จริงๆ ซึ่งเราได้ใช้หลักฐานแนบในสัญญาเป็นโฉนดที่ดินเดิมที่ต้องการแบ่งแยกจัดทำโฉนดใหม่ และ สำเนาใบคำร้องขอรังวัดและแบ่งแยกทำโฉนดใหม่ โดยผุ้จะขายต้องการให้ดิฉันจ่ายเงินก่อน 10 % แล้วเมื่อโฉนดที่ดินที่ต้องการซื้อเสร็จสิ้น ทางผู้ขายที่ดินจะส่งหนังสือไปแจ้งดิฉันเพื่อให้มาจ่ายเงินทั้งหมดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ตามใบสัญญาที่ระบุไว้ 


ดิฉันจึงขอเรียนถามคุณทนายว่าดิฉันต้องการทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินโดยนำสัญญานั้นไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานได้หรือไม่ เพราะดิฉันคิดว่าการซื้อขายที่ดินต้องไปทำสัญญาและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินถึงจะเป็นสัญญาที่มีผลบังคับใช้ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาม 456   แต่ผู้จะขายที่ดินบอกดิฉันว่านี้เป็น"สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน" ไม่ใช่ "สัญญาขายที่ดิน" เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ ฉะนั้นทำที่ไหนก็ได้  ดิฉันขอถามคุณทนายว่าถ้าดิฉันจะไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและนำสัญญาไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินจะสามารถทำได้หรือไม่คะ แล้วขอให้ช่วยคุณทนายช่วยอธิบายระหว่างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และ สัญญาซื้อขายที่ดิน แต่งต่างกันอย่างไรคะ

โดย เร อี-เมล์ เร เบอร์โทรศัพท์. เร IP: xxx [ 2011-02-17 ]

คำตอบจาก Webmaster

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกบัญญัติว่า "การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ......."


วรรคสองบัญญัติว่า "สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่"


แปลความหมายได้ว่า สัญญาซื้อขายที่ดินหากทำกันเอง โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้  จะทำให้สัญญาเป็นโมฆะทันทีไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ผู้ซื้อแม้จะได้ชำระราคาที่ดินให้ผู้ขายไปเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น หากคู่สัญญาประสงค์จะซื้อขายที่ดินกัน แต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่อาจจะเป็นเพราะผู้ซื้อจะต้องขอสินเชื่อต่อสถาบันการเงินก่อนเพื่อนำเงินค่าที่ดินมาชำระให้ผู้ขายทั้งจำนวน ผู้ขายจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ หรือผู้ขายยังแบ่งแยกโฉนดไม่เสร็จยังไม่พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับผู้ซื้อดังเช่นกรณีของคุณนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายก็จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อน ซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องมีข้อสัญญาว่าจะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันเมื่อใด หากไม่มีสัญญาข้อนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินก็จะตกเป็นโมฆะเช่นกัน เนื่องจากคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำกันเองก็มีผลสมบูรณ์ และถึงแม้จะนำสัญญาจะซื้อจะขายไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ ก็จะไม่จดทะเบียนให้เพราะไม่อยู่ในประเภทของนิติกรรมที่เจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ เจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ก็ต่อเมื่อไปโอนกรรมสิทธิ์กันที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-02-18 ] ตอบ 483
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.