สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 70 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2535 คน
29326 คน
2740854 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การแบ่งมรดก

 1.ปู่และย่ามีที่นา 10 ไร่ ขณะที่ย่าและป่ยังมีชีวิตอยู่ได้แบ่งที่ดินให้ลูกๆ  ( เพราะถูกลูกๆเป่าหู)โดยมีลูก 7 คน แบ่งให้ 5 คนและอีก 2 ไปทำงานเมืองนอกไม่รู้เร่องการแบ่งที่ดินดังนั้น จึงไม่ได้ที่นากับเขา (คนอื่นอ้างว่ามีเงินจากการไปเมืองนอกมากแล้ว)เมื่อทั้ง 2 คนกลับมาเขาก็ขายที่ดินให้คนอื่นกันหมดแล้ว อยากถามว่า ลูกทั้งสองคนจะสามารถทักท้วงสิทธิการเป็นลูกต้องได้รับที่นาเหมือนคนอื่นได้หรือไม่( ผ่านไป  2 ปี แล้ว )


2. ต่อมาป่กับย่าเสียชีวิตและมีที่บ้าน 7 ไร่ ชื่อเจ้าของโฉนดเป็นชื่อของปู่ ลูกทั้ง 7 คนต้องการแบ่งที่ดินกัน ขณะนี้ลูก 2 คน ที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่นา มีความต้องการได้ที่ดินที่บ้านมากกว่าใครๆ โดยการอ้างสิทธิว่าไม่ได้ที่นาจะเอาที่บ้านแทน จะสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าได้โดยวิธีการใดบ้าง

โดย จิรภิญญา อี-เมล์ จิรภิญญา เบอร์โทรศัพท์. จิรภิญญา IP: xxx [ 2011-03-20 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. ปู่และย่าให้ที่ดินแก่บุตรในขณะที่มีชีวิตอยู่ ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ปู่และย่ามีสิทธิที่จะให้บุตรคนใดก็ได้ ไม่ให้บุตรคนใดก็ได้ เพราะมิใช่เป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งมรดกไปตามกฎหมาย ลูกทั้งสองคนไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะทักท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น


2. เมื่อปู่เสียชีวิต เมื่อปู่มิได้ทำพินัยกรรมยกให้บุตรคนหนึ่งคนใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ที่ดินและบ้านจึงเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม จึงต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกตามกฎหมาย บุตรทุกคนจึงได้ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน บุตรทั้งสองคนที่ไม่ได้รับที่นาไม่มีสิทธิที่จะต้องการได้ที่ดินและบ้านมากกว่าบุตรคนอื่น ๆ

โดยคุณ วัชรพล [ 2011-03-21 ] ตอบ 509
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.