สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 63 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2528 คน
29319 คน
2740847 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


สืบเนื่องจากคำถามที่501
เเพื่อนดิฉันเป็นข้าราชการค่ะ คือต้องถูกออกใช่หรือไม่คะ บำนาญได้หรือเปล่าคะ แล้วจากรายละเอียดนี้ตอนนี้เพื่อนเป็นหนี้อยู่น่าจะประมาน12ล้าน ทางกรมบังคับคดีจะใช้เวลาประมานเท่าใดในการดำเนินคดียึดทรัพย์ แล้วเวลาประมานเท่าใดในการฟ้องล้มละลายคะ
โดย เพื่อนผู้หวังดี IP: xxx [ 2011-03-23 ]

คำตอบจาก Webmaster

กรณีเป็นข้าราชการ แล้วต่อมาศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถือว่ามีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 (ข) ลักษณะต้องห้าม (6) เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสังให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (มาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรีอน พ.ศ.2551)


กรมบังคับคดีจะใช้เวลานานเท่าใดในการดำเนินการยึดทรัพย์นั้น ไม่สามารถตอบได้ขึ้นกับปริมาณงานของเจ้าหน้าที่


สำหรับการฟ้องล้มละลายนั้น เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องเป็นคดีแพ่งตามปกติก่อนเนื่องจากหนี้ชดใช้เงินส่วนที่ขาดนั้น มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่ยังเป็นยอดหนี้ที่มีจำนวนไม่แน่นอน  เมื่อศาลในคดีแพ่งพิพากษาแล้ว หากเพื่อนของคุณเป็นหนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องคดีล้มละลายต่อไปได้ ซึ่งก็ตอบไม่ได้อีกเช่นกันในเรื่องของระยะเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นจะใช้สิทธิในการดำเนินการฟ้องคดีแพ่งหรือไม่ หากฟ้องคดีแพ่งแล้ว เจ้าหนี้ผู้นั้นจะใช้สิทธิฟ้องคดีล้มละลายต่อไปอีกคดีหรือไม่

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-03-24 ] ตอบ 513
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.