สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 61 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2526 คน
29317 คน
2740845 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ที่ดินมีชื่อร่วม การซื้อขายจะเป็นอย่างไร

บิดามีที่ดินจำนวน 20 ไร่ก่อนเสียชีวิตได้ใช้ชื่อบุตรสาวและภรรยามีสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวแต่ไม่ได้ระบุว่าแต่ละคนมีสิทธิในพื้นที่คนละกี่ไร่


คำถาม  1.กรณีนี้ จะตัดสินว่าแต่ละคนมีสิทธิคนละ50 % ได้หรือไม่


ต่อมา  บุตรสาวได้แต่งงานกับชาวต่างชาติและย้ายไปอยุ่ต่างประเทศ  และผู้เป็นมารดาต้องการขายที่ดินให้กับพื้นบ้านที่ประเทศไทย   มารดาต้องการขายที่ดินจำนวน 2 ไร่ ในตอนแรกบุตรสาวไม่เห็นด้วยที่จะขายแต่ก็ทำการตกลงในตอนหลัง  มราดาได้ขอให้บุตรสาวทำเรื่องมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน


คำถาม 2. .ในตอนที่บุตรสาวได้กรอกรายละเอียดในการมอบอำนาจ ได้ติดต่อไปที่อำเภอ และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าไม่ต้องใส่จำนวนพื้นที่ ( ไร่ )ในเอกสาร  ในลักษณะนี้ หนังมอบอำนาจฉบับนี้จะมีสามารถใช้กับการซื้อขายในครั้งนี้ครั้งเดียว หรือสามารถใช้ได้ถาวร


3. หากมารดาต้องการขายที่ดินอีก จำนวนที่ดินที่มารดาสามารถขายในส่วนของมารดาเองจะขายได้กี่ไร่


4.บุตรสาวอยุ่ต่างประเทสจะทราบได้อย่างไรว่ามารดาจะไม่ขายที่ดินในส่วนของตนเอง ไม่ทราบว่ามีกฏหมายรองรับเพื่อที่จะรักษาสิทธิในที่ดินของบุตรสาวหรือไม่

โดย ลูกปัด อี-เมล์ ลูกปัด เบอร์โทรศัพท์. ลูกปัด IP: xxx [ 2011-03-23 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. บิดามีที่ดิน 20 ไร่ โอนใส่ชื่อบุตรสาวและภรรยา โดยไม่ได้ระบุว่าให้ใครจำนวนเท่าใด ตามกฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน นั่นคือ คุณมีกรรมสิทธิ์อยู่ 10 ไร่ มารดาก็มีอยู่ 10 ไร่เท่า ๆ กัน


2-3 มารดามีสิทธิขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้อยู่แล้วตามกฎหมายโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากคุณ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนประเภท "ขายเฉพาะส่วน" ให้ โดยที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องมอบอำนาจ ไม่ว่ามารดาจะขายกี่ครั้งก็ตาม จะขายได้ไม่เกิน 10 ไร่เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น หนังสือมอบอำนาจที่คุณเซ็นให้ไปสามารถใช้กับการซื้อขายได้ครั้งเดียวเท่านั้น


4. บุตรสาวจะทราบว่า มารดาได้ขายที่ดินส่วนของบุตรสาวด้วยหรือไม่นั้น จะต้องไปตรวจสอบโฉนดแปลงดังกล่าวที่สำนักงานที่ดิน ไม่มีกฎหมายรองรับในการรักษาสิทธิในที่ดินของบุตรสาวเพราะกรณีเป็นเรื่องที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะต้องรักษาสิทธิของตนเอง โดยจะต้องระมัดระวังในการมอบอำนาจ หากบุตรสาวไม่ได้เซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็จะไม่มีทางที่มารดาจะนำที่ดินของบุตรสาวไปขายได้ 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-03-24 ] ตอบ 514
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.