สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 54 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2519 คน
29310 คน
2740838 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


กรรมสิทธิที่ดิน

ขอความรู้เกี่ยวกับ กรรมสิทธิที่ดิน ค่ะ


ยาย โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลุง ในขณะที่ลุงจดทะเบียนสมรสกับป้าสะใภ้คนที่ ๑ หลังจากนั้นลุงมีภรรยาใหม่  ป้าสะใภ้เลยพาลูกหนีไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ที่ไหน


ปัจจุบัน ลุงตายไปแล้ว ๑๕ ปี โดยไม่ได้หย่ากับป้าสะใภ้คนที่ ๑ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน แต่ลุงมีลูกกับภรรยาใหม่ ๑ คน ซึ่งอยู่กินกันอย่างเปิดเผย จดทะเบียนรับรองบุตร (ปัจจุบันบรรลุนิภาวะแล้ว )


ก่อนตาย ลุงเอาโฉนดที่ดินไปจำนองกับบุคคลธรรมดาโดยการทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน เมื่อลุงตายภรรยาใหม่ไม่มีเงินไปไถ่ถอน น้า (ลูกคนที่ ๓ ของยาย ) ไปไถ่ถอนให้โดยตกลงกันว่าเมื่อได้โฉนดมา ก็จะแยกโฉนดแบ่งกันคนละครี่ง  ซึ่งภรรยาใหม่ของลุงก็ตกลง (ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ) แต่เมื่อไถ่ถอนออกมาแล้วก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมไปแบ่งโฉนดตามที่ตกลงกันไว้


คำถาม


โฉนดยังเป็นชื่อของลุงอยู่  กรรมสิทธิจะเป็นของใคร  ป้าสะใภ้ที่จดทะเบียนและลูกที่หนีไปไม่มีใครสามารถติดต่อได้  ลูกที่เกิดกับภรรยาใหม่มีการจดทะเบียนรับรองบุตรถูกต้องตามกฏหมาย  ยายยังมีชีวิตอยู่สามารถขอคืนกรรมสิทธิที่ดินได้หรือไม่

โดย กฤษณา อี-เมล์ กฤษณา เบอร์โทรศัพท์. กฤษณา IP: xxx [ 2011-04-20 ]

คำตอบจาก Webmaster

ยายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับลุง ในขณะที่ลุงจดทะเบียนสมรสกับป้าสะใภ้คนที่ 1 คำตอบต่อไปนี้จะแยกเป็น 2 กรณี (เนื่องจากขาดข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา) ดังนี้


1. กรณียายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลุงโดยยกให้เป็นสินส่วนตัว แม้ขณะนั้นลุงจะจดทะเบียนสมรสกับป้าสะใภ้คนที่ 1 ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของลุง เมื่อลุงถึงแก่กรรม ที่ดินจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของลุงตามกฎหมาย ได้แก่


     (1) ผู้สืบสันดาน


     (2) บิดามารดา


     (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน


    (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน


    (5) ปู่ ย่า ตา ยาย


    (6) ลุง ป้า น้า อา


     คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมด้วย และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร กรรมสิทธิที่ดินในกรณีนี้จึงตกได้แก่ป้าสะใภ้ บุตรของป้าสะใภ้ บุตรที่เกิดกับภรรยาใหม่ที่ลุงจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วและยาย (มารดาของลุง) คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน


2. กรณียายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลุงโดยยกให้เป็นสินสมรส ป้าสะใภ้คนที่ 1 จึงได้ที่ดินไปครึ่งหนึ่งในฐานะคู่สมรส ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของลุง คือ ป้าสะใภ้คนที่ 1 บุตรของป้าสะใภ้ บุตรที่เกิดกับรรยาใหม่ที่ลุงจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วและยาย (มารดาของลุง) คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน


ส่วนกรณีป้าสะใภ้ที่จดทะเบียนและลูกที่หนีไปไม่สามารถติดต่อได้นั้น เห็นควรดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคลสาบสูญต่อไป


 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-04-20 ] ตอบ 534
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.