สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 54 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2519 คน
29310 คน
2740838 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


สิทธิการครอบครอง

ขอบคุณสำหรับคำตอบจากคำถาม ๕๓๓
มีกรณีว่า
          เมื่อปี ๒๕๒๔ ก. ได้ซื้อที่ดิน น.ส. ๓ ก. จำนวน  ๓  งาน จาก  ข  โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีหน้าที่ดินด้านหนึ่งติดถนนดิน(ภายหลังเป็นถนนสาธารณะ) ในการทำสัญญาซื้อขาย และในเอกสาร น.ส.๓ ไม่มีการกัน หรือแบ่งไว้ทำถนนแต่อย่างใด  จึงมีแดนติดกับที่ดินข้างเคียง(ภายหลังที่ดินข้างเคียงออกเป็นโฉนด  แสดงแผนที่มีถนนสาธารณะชัดเจน) แต่อย่างไรก็ตาม ก. ก็เว้นที่ด้านนี้ไว้เพื่อเป็นไหล่ทาง วางท่อประปา ปักเสาไฟฟ้า และวางท่อระบายน้ำตามสมควร
ถามว่า 
        ๑.  ตามกฎหมาย ตามความจริง  ก. มีสิทธิครอบครอง ใช้ประโยชน์ และพิทักษ์ะสิทธิในที่ดินทั้ง ๓ งาน เพียงใด
        ๒.  ข. สามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกคืนที่ดินที่ ก. เว้นไว้ได้หรือไม่
        ๓.  ก.  จะดำเนินการอย่างไร ถ้า  ข. ฟ้องร้องต่อศาลจริง
                                                  ขอขอบคุณ

โดย kokkok อี-เมล์ kokkok เบอร์โทรศัพท์. kokkok IP: xxx [ 2011-05-08 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. ที่ดิน น.ส. 3 ก. เป็นที่ดินที่มีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้น หากมีบุคคลอื่นเข้าแย่งการครอบครอง ผู้มีชื่อในน.ส. 3 ก.จะต้องฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่มีผู้เข้าแย่งการครอบครอง


2. หาก ข. ได้เข้าครอบครองที่ดินที่ ก.เว้นไว้เกิน 1 ปีแล้ว ก. มิได้ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครอง ข. ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินส่วนที่ ก.เว้นไว้ และมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าหน้าที่จดทะเบียนการได้มาซึ่งการครอบครองได้โดยไม่จำต้องฟ้องศาล


3. กรณีดังกล่าวไม่จำต้องฟ้องต่อศาล ดังได้ตอบแล้วตามข้อ 2.

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-05-10 ] ตอบ 544
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.