สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 6 คน
 สถิติเมื่อวาน 70 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
624 คน
27415 คน
2738943 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


คำนวณภาษีธุรกิจ

บริษัทมีวงเงินกู้กับทางธนาคาร 6 ล้านบาท โดยจำนองที่ดินของบริษัท  ก  3 ล้านบาท


จำนองที่ดินของนาย ข  2 ล้านบาท  จำนองที่ดินของนาย ค  1 ล้านบาท  เป็นหลักประกันหนี้ของบริษัท ต่อมาบริษัทฯต้องการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำนอง เป็นที่ดินของบริษัท  ก  โดยซื้อขายตามราคาประเมิน  1.5 ล้านบาท  บริษัทมีภาระหนี้กับทางธนาคารอยู่  5 ล้านบาท  อยากทราบว่าคำนวณภาษีธุรกิจอย่างไร

โดย คุณเล็ก (ip182.53.39.253) อี-เมล์ คุณเล็ก (ip182.53.39.253) เบอร์โทรศัพท์. คุณเล็ก IP: xxx [ 2011-08-11 ]

คำตอบจาก Webmaster

ตามที่คุณเล็กได้ถามมาทางอีเมล์ผม watcharaponw@gmail.com นั้น ผมได้ตอบไปแล้ว แต่เมล์ส่งไม่ได้ เลยยกคำถามมาตอบในกระทู้นี้อีกครั้ง


จากคำถามข้อ608 กรณีมีภาระ 6 ล้าน เป็นวงเงินกู้เงินทุนหมุนเวียน 4 ล้าน เป็นเงินกู้ทั่วไป 2 ล้าน ต้องนำเงินทุนหมุนเวียนมาคิดเป็นภาระผูกพันธ์ด้วยหรือไม่


ตอบ เมื่อเป็นภาระหนี้ตามสัญญาจำนอง ไม่ว่าจะเป็นหนี้ประเภทใดก็จะต้องนำมาคิดด้วยครับ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-08-15 ] ตอบ 621

การจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำนอง โดยผู้ซื้อผู้ขายมีการตกลงชำระเงินค่าซื้อขาย และผู้ซื้อยอมรับภาระหนี้ที่จำนองเป็นประกันซึ่งผูขายหรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนองแทนผู้ขายไปด้วย กาสรเรียกเก็บภาษีอากรให้ถือปฏิบัติดังนี้


(1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย


     (ก) กรณีผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา เรียกเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์


     (ข) กรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคล ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรเรียกเก็บจากจำนวนเงินที่ได้มีการชำระรวมกับจำนวนหนี้ที่จำนองเป็นประกัน ซึ่งผู้ซ์อยอมรับภาระไป เว้นแต่ราคาประเมินทุนทรัพย์สูงกว่า ก็ให้เรียกเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์


(2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรียกเก็บจากยอดรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์รวมกับภาระจำนองที่ติดกับทรัพย์ด้วย เว้นแต่ราคาประเมินทุนทรัพย์สูงกว่า ก็ให้เรียกเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์


(3) อากรแสตมป์ เรียกเก็บจากจำนวนเงินที่ได้มีการชำระรวมกับจำนวนหนี้ที่จำนองเป็นประกันซึ่งผู้ซื้อยอมรับภาระไปด้วย เว้นแต่ราคาประเมินทุนทรัพย์สูงกว่า ก็ให้เรียกเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์


(หนังสือกรมที่ดินที่ มท ๐๕๑๕/ว ๖๗๕๐ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗)

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-08-13 ] ตอบ 619
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.