สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 44 คน
 สถิติเมื่อวาน 81 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
519 คน
27310 คน
2738838 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


พี่กับน้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
ผม (โสด) กับพี่สาว (มีครอบครับ) มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกันนานเกิน 10 ปีแล้ว ซึ่งในบริเวณที่ดินดังกล่าว ปัจจุบันได้ปลูกบ้านไว้ 2 หลัง ของพี่สาว 1 หลัง แต่อีกหลังสร้างเสร็จเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา ผมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และปัจจุบันมีแม่กับหลานอาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว จึงขอสอบถามอาจารย์ว่า ในทางกฎหมาย บ้านหลังนี้จะตกเป็นของผม หรือของแม่ หรือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ขอบคุณครับ
โดย เพื่อนรักคิดหักหนี้ (ip117.121.208.2) อี-เมล์ เพื่อนรักคิดหักหนี้ (ip117.121.208.2) เบอร์โทรศัพท์. เพื่อนรักคิดหักหนี้ IP: xxx [ 2011-10-04 ]

คำตอบจาก Webmaster

เมื่อคุณเป็นผู้ขออนุญาตทำการปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน ตามกฎหมายควบคุมอาคาร บ้านย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณ แต่สร้างบนที่ดินซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคุณกับพี่สาว ตามกฎหมายแพ่งลักษณะทรัพย์ หากไม่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินว่า บ้านที่คุณก่อสร้างจะไม่เป็นตกเป็นส่วนควบของที่ดิน บ้านที่คุณสร้างจึงตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (คุณและพี่สาว) ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินด้วย ผลคือบ้านหลังที่คุณสร้างพี่สาวย่อมถือกรรมสิทธิรวมด้วยตามกฎหมายแพ่งข้างต้น เช่นเดียวกันบ้านของพี่สาวของคุณสองหลังก็ตกเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งคุณย่อมถือกรรมสิทธิ์รวมในตัวบ้านทั้งสองหลังเช่นเดียวกัน


ควรยื่นคำขชอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมเสีย ไม่งั้นอาจจะเป็นปัญหาในภายภาคหน้าได้

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-10-06 ] ตอบ 646
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.