สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 75 คน
 สถิติเมื่อวาน 247 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
469 คน
27260 คน
2738788 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ต่อจาก 647 โอนเรียบร้อย แต่ยังไม่ย้ายออก
ขอขอบคุณ คุณวัชรพล ที่ช่วยเข้ามาตอบคำถามผมบ่อยๆนะครับ

ตอนนี้ผมได้ทำการโอนบ้านเรียบร้อยแล้ว โดยตอนนี้ชื่อในโฉนดเป็นชื่อผมกับแฟน และติดจำนองกับธนาคารแล้ว

แต่ที่นี้ผมได้บอกให้พี่สาวผม ย้ายออกไปแล้ว แต่มีทีท่าว่าจะยังไม่ยอมย้ายออก เลยจะขอถามดังนี้ครับ

1.ผมสามารถล็อคประตูห้องนอนของเค้า (ตอนเค้าไม่อยู่) ได้หรือไม่ครับ เพื่อไม่ให้เค้าเข้าห้อง เพราะว่า ตอนนี้บ้านเป็นของผมแล้ว ผมมีสิทธิ์ทำอย่างนั้นรึป่าวครับ?

2.ถ้าทำแบบข้อแรกไม่ได้ จะต้องฟ้องขับไล่ จะต้องเตรียมเอกสาร อย่างไรบ้างครับ และ ต้องจ้างทนายหรือไม่ขับ
โดยส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายอะไรอย่างไรบ้างครับ

3.คำแนะนำอื่นๆ ช่วยบอกด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
โดย พี่น้องแตกหัก (ip192.165.213.18) อี-เมล์ พี่น้องแตกหัก (ip192.165.213.18) เบอร์โทรศัพท์. พี่น้องแตกหัก IP: xxx [ 2011-11-12 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. แม้กรรมสิทธิ์ในบ้านจะตกเป็นของคุณกับแฟนแล้วก็ตาม แต่สิทธิครอบครองในห้องนอนยังเป็นของพี่สาวอยู่ การไปปิดล็อคประตูห้องนอน เป็นการรบกวนการครอบครองห้องนอนของพี่สาวโดยปกติสุข เป็นมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานบุกรุกได้ แต่หากสัญญาซื้อขายบ้านได้ระบุไว้ชัดเจนว่า หากโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ขาย (พี่สาว) ไม่ยอมออกไป ผู้ขาย (พี่สาว) ยินยอมให้ล็อคประตูได้ คุณก็มีสิทธิที่จะล็อคประตูได้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขาย


2. สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไปทำที่กรมที่ดินก็สามารถใช้ได้ หากคุณมีความรู้และความเข้าใจในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการพิจารณาคดีในศาล คุณก็สามารถที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเองได้โดยไม่ต้องว่าจ้างทนายความดำเนินการให้  แต่หากไม่มีความรู้ในตัวบทกฎหมายดังกล่าวควรจ้างทนายความดำเนินการให้ ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นควรสอบถามกับทนายความที่จะรับว่าความให้กับคุณโดยตรง เนื่องจากอัตราไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ (อายุการว่าความ) ของทนายความแต่ละคน


3. เป็นพี่กันน้องกัน  ควรหันหน้ามาเจรจากันจะดีกว่า อย่าฟ้องร้องกันเลย เสียเงินค่าจ้างทนายความเปล่า ๆ ครับ

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-11-13 ] ตอบ 660
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.