สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 43 คน
 สถิติเมื่อวาน 54 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4874 คน
26590 คน
2738118 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ข้อบังคับนิติบุคลไม่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่
ในกรรีณีย์ข้อบังคับนิติบุคลอาคารชุดไม่มีวาระการประชุมเพื่อรับรองข้อบังคับ เเต่นำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดินเเล้ว ผู้จัดการนิติบุคลทำผิดข้อบังคับ
นำพ.ท.ส่วนกลางไปให้เช่าทำร้านค้า ไม่เเสดงรายรับ รายจ่าย ประจำเดือน
เจ้าของร่วมจะเเจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะรับเเจ้งความใหมครับ ...
โดย วิรัตน์ IP: xxx [ 2011-12-15 ]

คำตอบจาก Webmaster

หากเป็นอาคารชุดที่จดทะเบียนในวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ (ภายใน 180 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 2) (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 125 ตอนที่ 44 ก. วันที่ 6 มีนาคม 2551) กฎหมายบังคับให้เจ้าของโครงการต้องแนบร่างข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดประกอบคำขอจดทะเบียน (มาตรา 6 (6) )


เมื่อจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว กฎหมายบังคับให้ผู้จัดการ (คนที่เจ้าของโครงการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด) จัดให้มีการประชุมใหญ่ โดยือว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 6 เดพือนนับแต่วันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาให้ความเห็นชอบกับข้อบังคับที่เจ้าของโครงการได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งให้ความเห็นชอบกับผู้จัดการที่เจ้าของโครงการแต่งตั้งด้วย หากที่ประชุมใหญ่ไม่เห็นชอบกับข้อบังคับฯ ให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ หรือหากไม่เห็นชอบกับผู้จัดการ ที่ประชุมใหญ่ก็มีสิทธิที่จะถอดถอนผู้จัดการคนเดิมและแต่งตั้งผู้จัดการคนใหม่ได้ด้วย (มาตรา 42)


การนำพื้นที่ส่วนกลางไม่ให้เช่าทำร้านค้าจะต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมด้วยมติไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด หากประชุมครั้งแรกคะแนนเสียงไม่ครบ ให้เรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วัน และในการประชุมครั้งหลังจะต้องได้มติไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด จึงจะสามารถจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางได้ (มาตรา 48 (7)) เมื่อผู้จัดการฯ ดำเนินการไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติขัดต่ออำนาจหน้าที่ ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีสิทธิที่จะมีมติให้ถอดถอน (มาตรา 35/3 ประกอบมาตรา 49)


ส่วนกรณีไม่แสดงรายรับ รายจ่ายประจำเดือน เป็นการปฏิบัติขัดต่อหน้าที่ของผู้จัดการตามมาตรา 36 (5) ซึ่งกรณีนี้กฎหมายบัญญัติบทลงโทษไว้ตามมาตรา 68 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง  การปรับเป็นโทษทางอาญาตามมาตรา 18 (4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น เจ้าขจองร่วมจึงมีสิทธิที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับผู้จัดการได้  พนักงานสอบสวนจะต้องรับแจ้งความ หากไม่รับแจ้งความ พนักงานสอบสวนก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157



 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2011-12-16 ] ตอบ 664
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.