สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 65 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4948 คน
26664 คน
2738192 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ค่ากระสอบทราย และเครื่องสูบน้ำเป็นค่าบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคหรือไม่
เมื่อน้ำท่วมที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ได้สำรองจ่ายเงินเป็นค่าเครื่องสูบน้ำ กระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำที่ไหลเข้าโครงการ จนเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไปคณะกรรมการได้มีการทวงถามให้สมาชิกในหมู่บ้านชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยบอกว่าถ้าไม่จ่าย จะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พร้อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ยังไม่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 10 ต่อเดือน อย่างนี้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะทำไหม(ถ้าค่าเครื่องสูบน้ำ และค่ากระสอบทรายได้ผ่านมติที่ประชุมเสียงข้างมาก เห็นด้วย ว่าจะชำระ)
โดย เหมียวหง่าวว (ip101.108.148.172) อี-เมล์ เหมียวหง่าวว (ip101.108.148.172) เบอร์โทรศัพท์. เหมียวหง่าวว IP: xxx [ 2012-01-08 ]

คำตอบจาก Webmaster

- ถนน สวน สนามเด็กเล่น ที่ผู้จัดสรรที่ดินจัดให้มีขึ้น เพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังโครงการ ถือเป็นสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543


- เมื่อเป็นสาธารณูปโภคแล้ว นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค รวมทั้งมีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติฯ มีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก ตามมาตรา 48 (3)


- โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว เห็นว่า การที่คณะกรรมการฯ ได้จ่ายเงินเป็นค่าเครื่องสูบน้ำ กระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำที่ไหลเข้าโครงการ เป็นการกระทำอันจำเป็นที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้ถนน สวน สนามเด็กเล่นในโครงการซึ่งเป็นสาธารณูปโภคได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงเห็นว่า คณะกรรมการฯ มีอำนาจที่จะเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในกรณีดังกล่าว ซึ่งในกรณีที่ได้ผ่านมติที่ประชุมใหญ่ด้วยเสียงข้างมากแล้ว ย่อมทำให้การกระทำของคณะกรรมการฯ มีความชอบธรรมที่จะเรียกเก็บยิ่งขึ้น ซึ่งถึงแม้จะไม่ผ่านมติที่ประชุมฯ คณะกรรมการฯ ก็มีอำนาจที่จะเรียกเก็บได้อยู่แล้วตามกฎหมาย

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-01-09 ] ตอบ 674
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.